Page 98 - kpi21595
P. 98

จากตารางที่ 8 จะเห็นได้ว่าอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้มากที่สุดเมื่อ

               พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของค่า t ก็คืออำเภอพนมไพร เนื่องจากมีค่า t เพิ่มขึ้น 10.176 จาก -2.882 ใน
               ปี 2559 เป็น 7.294 ในปี 2561 ส่วนอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นมากที่สุดคือ

               อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เนื่องจากมีค่า t เพิ่มขึ้น 4.177 จาก -0.383 ในปี 2559 เป็น 3.794 ในปี 2561 ส่วน

               อำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองแย่ลงคืออำเภอปทุมรัตต์ โดยในส่วนของความเป็น
               พลเมืองตระหนักรู้นั้นพบว่ากลุ่มตัวอย่างใน อำเภอปทุมรัตต์มีค่า t ลดลง -5.254 จากเดิมในปี 2559 ที่มีค่า t

               เท่ากับ  -2.684  เหลือเพียง -2.570 ในปี 2561 ขณะที่คะแนนความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นมีค่า t ลดลง -
               8.191 จากที่ได้ 2.888 ในปี 2559 เหลือเพียง -5.303 ในปี 2561

                       จากข้างต้น จึงสรุปได้ว่าอำเภอนำร่องที่เป็นเป้าหมายสำหรับการลงพื้นที่ศึกษาเชิงลึกต่อไปนั้น

               ประกอบด้วย 4 อำเภอคือ อำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองมากที่สุด 2 อำเภอคือ อำเภอ
               พนมไพรที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้มากที่สุด และอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็น

               อำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นมากที่สุด ส่วนอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลง
               คะแนนความเป็นพลเมืองในระดับกลางๆไม่มากขึ้นหรือลดลงก็คืออำเภอเสลภูมิ ซึ่งใช้เป็นอำเภออ้างอิงในการ

               ทดสอบและอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองน้อยที่สุดก็คืออำเภอปทุมรัตต์

                       อย่างไรก็ตาม แม้จะได้อำเภอนำร่องเป้าหมายสำหรับศึกษาเชิงลึกแล้ว แต่เพื่อให้การเก็บข้อมูลใน
               พื้นที่สามารถวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองเชิงคุณภาพได้อย่างแน่นอน ผู้วิจัยจึงจำกัดพื้นที่ศึกษาไว้

               เฉพาะตำบลที่แกนนำพลเมืองได้มีการขยายผลการสร้างความเป็นพลเมือง โดยพิจารณาจากพื้นที่ดำเนิน

               โครงการต่างๆเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์ประธานศูนย์พัฒนา
               การเมืองภาคพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการประสานงานและเป็นผู้ติดตามดูแลปฏิบัติการ

               ขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองของแกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่ทุกอำเภอ ได้ข้อมูลโครงการและพื้นที่
               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองของอำเภอนำร่องเป้าหมายทั้ง 4 แห่งดังต่อไปนี้

                       อำเภอพนมไพร แกนนำพลเมืองเลือกดำเนินโครงการ “โรงเรียนพลเมือง” เพื่อส่งเสริมและขยายผล

               การสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในพื้นที่ โดยเลือกตำบลพนมไพรเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ อีกโครงการที่
               แกนนำพลเมืองอำเภอพนมไพรเลือกดำเนินการนั้นก็คือโครงการจัดทำ “ธรรมนูญการจัดการ

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนและการเพาะเห็ดโคนต้นไม้” ซึ่งมุ่งสร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์
               ป่าไม้ของโรงเรียนดอนเสาโฮงซึ่งตั้งอยู่ใน ม.8 ม.9 ม.16 ม.17และ ม.18 ของตำบลพนมไพร ดังนั้นผู้วิจัยจึง

               เลือกตำบลพนมไพรเป็นตำบลเป้าหมายในการเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองของ

               แกนนำพลเมืองอำเภอพนมไพร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับอำเภออื่นๆว่ามีความเหมือนหรือแตกต่าง
               กันอย่างไรกับอำเภออื่น

                       ด้านอำเภอเมืองร้อยเอ็ด พบว่าแกนนำพลเมืองเลือกดำเนินโครงการ “โรงเรียนพลเมือง” เพื่อส่งเสริม

               และขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในพื้นที่เช่นกัน โดยเลือกตำบลสะอาดสมบูรณ์เป็นพื้นที่ดำเนิน
               โครงการ อีกโครงการที่แกนนำพลเมืองจากอำเภอเมืองร้อยเอ็ดเลือกดำเนินการนั้นก็คือโครงการปลูกพืชปลอด





                                                                                                        87
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103