Page 102 - kpi21595
P. 102

ข้อจำกัดประการที่สอง คือเรื่องจำนวนโครงการที่แกนนำพลเมืองผลักดันเพื่อส่งเสริมความเป็น

               พลเมืองในระดับพื้นที่พบว่ายังมีอยู่เป็นจำนวนน้อย กล่าวคือ อำเภอพนมไพรมีโครงการที่ดำเนินการเพื่อสร้าง
               ความเป็นพลเมืองในพื้นที่เพียง 2 โครงการคือโครงการโรงเรียนพลเมืองและผลักดันธรรมนูญอนุรักษ์

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอเมืองร้อยเอ็ดมีโครงการที่ดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองใน

               พื้นที่เพียง 2 โครงการเช่นกัน คือ โครงการโรงเรียนพลเมืองและโครงการปลูกพืชปลอดสารพิษอันเป็นส่วน
               หนึ่งในการจัดทำนวัตกรรมภายใต้การเรียนการสอนของโรงเรียนพลเมือง ด้านอำเภอเสลภูมิมีทั้งสิ้น 3

               โครงการ ประกอบด้วย โครงการโรงเรียนพลเมือง โครงการขยะแลกใจ และโครงการอบรมเยาวชนพลเมืองจิต
               อาสาเสลภูมิ ส่วนอำเภอปทุมรัตต์มีเพียงโครงการเดียวคือโครงการถนนสายวัฒนธรรมแต่จัดขึ้นทั้งสิ้น 4 ครั้ง

               ต่างจากอำเภออื่นที่ดำเนินโครงการข้างต้นเพียงครั้งเดียว

                       เรื่องของจำนวนโครงการที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น ผลจากการสัมภาษณ์แกนนำพลเมืองชี้ให้เห็นว่าส่วน
               หนึ่งเป็นเพราะแกนนำติดภารกิจของตนเองทั้งในส่วนของภาระงานและภาระทางบ้าน ทำให้พวกเขาไม่

               สามารถทุ่มเทเวลาเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมในระดับพื้นที่ในนามของ “กลุ่ม” แกนนำพลเมือง หรือในนามของ
               “นักเรืยนพลเมือง” ได้มากนัก ผลการสัมภาษณ์จึงพบว่าแกนนำพลเมืองส่วนใหญ่จะมีลักษณะของการ

               ถ่ายทอดความรู้เรื่องบทบาทและความสำคัญของพลเมืองด้วยตนเองโดยลำพังในโอกาสต่างๆไม่ได้เป็นไปใน

               ลักษณะกลุ่มแกนนำมากนัก ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าโอกาสที่แกนนำพลเมืองสามารถนำความรู้ไป
               เผยแพร่ได้โดยลำพังนั้นมีใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ เผยแพร่ความรู้ตามตำแหน่งหน้าที่ และเผยแพร่ความรู้เมื่อ

               ได้รับเชิญเป็นวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ยกตัวอย่างกรณีของแกนนำพลเมืองพนมไพรที่ใช้โอกาสในการเป็น

               ข้าราชการครูของตน เผยแพร่ความรู้เรื่องบทบาทและความสำคัญของพลเมืองให้แก่นักเรียนในชั้นเรียน “สอน
               เด็กเพราะว่าสอดคล้องกับหลักสูตรเรา ตั้งแต่อนุบาลถึง ม.3 แต่ไม่สอนอย่างเดียว ก็ดูการปฏิบัติของเด็กด้วย ดู

               ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การพูดจา การปฏิบัติของเขามีหมด เราก็สอนไปด้วย พูดไปด้วย ถ้าทำในห้องเรียน
               อย่างเดียวไม่จำหรอกต้องเฮ็ดให้เบิ่งนำ ให้เฮ็ดนำ” ขณะที่แกนนำพลเมืองพนมไพรอีกผู้หนึ่งระบุว่าได้นำ

               ความรู้ที่ได้รับการอบรมไปเผยแพร่บ้างตามโอกาสที่หน่วยงานราชการเข้ามาขอความร่วมมือจากตนในฐานะ

               ผู้นำท้องถิ่น อาทิ โครงการกองทุนขยะซึ่งผลักดันของจังหวัดร้อยเอ็ด โครงการปลูกป่าของสำนักงานทรัพยากร
               ป่าไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด และโครงการจิตอาสาทำดีเพื่อสังคมซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริที่ขอความ

               ร่วมมือมายังหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ผมก็ให้ความร่วมมืออยู่แล้ว” แกนนำผู้นั้น
               กล่าว

                       จากข้างต้น จะเห็นได้ว่าด้วยหน้าที่การงานนั้น ทำให้แกนนำพลเมืองบางกลุ่มที่ประกอบอาชีพรับ

               ราชการพบข้อจำกัดในการเผยแพร่ความรู้เรื่องพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสู่คนในชุมชน ในแง่นี้จะเห็นได้
               ว่า การที่แกนนำพลเมืองมีบทบาทเป็นอาสาสมัครในชุมชน น่าจะมีโอกาสและเวลาในการเผยแพร่ความเป็น

               พลเมืองได้มากกว่าแกนนำพลเมืองที่มีตำแหน่งหน้าที่ราชการ อย่างไรก็ตาม ผลการสัมภาษณ์กลับชี้ให้เห็นว่า

               การเป็นจิตอาสาหรืออาสาสมัครในชุมชนนั้นไมได้เอื้อต่อการผลักดันกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง
               ในระดับพื้นที่ ผลการสัมภาษณ์แกนนำพลเมืองอำเภอเสลภูมิชี้ให้เห็นว่า การที่เขารับภาระงานอาสาสมัคร

               จำนวนมากนั้น ทำให้เขาต้องเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานราชการต่างๆทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด และ


                                                                                                        91
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107