Page 47 - kpi21595
P. 47
เป็นผู้ที่พัฒนาแบบจำลองการอธิบายระบบการเมืองขึ้นเพื่อนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม โดยเขา
ชี้ให้เห็นการมองการเมืองที่ไปไกลกว่าเรื่องรัฐเช่นการให้ความสนใจที่กระบวนการทางการเมืองมากขึ้น เช่น
สถาบันทางการเมืองต่างๆมีกระบวนการและทำหน้าที่ของมันอย่างไร เขามองว่าแต่ละสังคมจะมีระบบย่อย
มากมายทั้งระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ และระบบวัฒนธรรม และโดยระบบเหล่านั้นจะจัดการ
ความสัมพันธ์ภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่งๆ
การนำแนวคิดเรื่องระบบการเมืองมาวิเคราะห์นั้น จึงสามารถช่วยให้เห็นถึง ระบบย่อย ตัวแปร และ
ความสัมพันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบได้ นอกจากนั้นผู้วิจัยเล็งเห็นว่า แนวคิดเรื่องระบบการเมืองนี้อาจชี้ให้เห็น
ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางด้านการขัดเกลาทางการเมือง ในฐานะที่เป็นตัวแปรด้านวัฒนธรรมและ
ปัจจัยนำเข้าของระบบการเมืองประการหนึ่ง ที่จะส่งผลต่อกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ
กระตือรือร้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวร่วมกับปัจจัยนำเข้าอื่นๆ อาทิ สถาบันทางการเมือง
อื่นๆ กลุ่มผลประโยชน์ และการสื่อสารทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งตัวแบบจำลองระบบการเมืองที่ David
Easton พัฒนาขึ้นมานั้นมีดังต่อไปนี้
แผนภาพที่ 7 ภาพจำลองระบบการเมืองของ David Easton
ความต้องการ
ปัจจัยน าเข้า (demands) ระบบการเมือง การตัดสินใจ outputs
(inputs) การเกื้อหนุน (political system) (decisions)
(supports)
feedbacks
จากแผนภาพที่ 7 จะเห็นได้ว่ากระบวนการที่นำเสนอในตัวแบบนี้ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก เพราะ
กล่าวถึงปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) ผลลัพธ์ (output) และสภาพแวดล้อม (environment)
เท่านั้น ส่งผลให้ Gabriel Almond ได้พัฒนากรอบคิดของอีสตันในกว้างขวางมากขึ้น โดยขยายมิติของปัจจัย
นำเข้าออกไปให้ครอบคลุมตัวแปร 4 มิติ เนื่องจากเขามองว่าแต่ละสังคมย่อมมีปัจจัยนำเข้าในทางสถาบันทาง
การเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรเน้นไปที่หน้าที่ของตัวแสดงเหล่านั้นมากกว่าที่จะมองโครงสร้างองค์กร โดย
ปัจจัยนำเข้าที่อัลมอนด์พัฒนาขึ้นมา ประกอบด้วย
36