Page 53 - kpi21595
P. 53
บทที่ 3
วิธีการศึกษา
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าสถาบันพระปกเกล้า ได้จัดทำโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่
บูรณาการขึ้น ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งตามยุทธศาสตร์ในการสร้างความเป็นพลเมืองของสถาบันพระปกเกล้า
ระหว่างปีงบประมาณ 2559-2561 โดยได้คัดเลือกร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดเป้าหมายของโครงการ โดยแบ่งการ
ดำเนินโครงการเป็น 2 ระยะคือ ระยะแรกเป็นการส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองให้แก่
แกนนำใน 10 อำเภอนำร่อง ปีละ 5 อำเภอ กล่าวคือในปี 2559 ดำเนินการกับแกนนำจาก 5 อำเภอนำร่อง
ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอธวัชบุรี อำเภอโพนทอง อำเภอสุวรรณภูมิ และ อำเภอปทุมรัตต์ ในปี 2560
ดำเนินการเพิ่มเติมกับแกนนำในอีก 5 อำเภอนำร่อง ประกอบด้วย อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอเกษตร
วิสัย อำเภอหนองพอก และอำเภอพนมไพร ส่วนระยะที่สองเป็นการผลักดันให้แกนนำพลเมืองในอำเภอนำร่อง
ขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆในระดับพื้นที่เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้แก่คนในพื้นที่ต่อไป
ดังนั้น เพื่อให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มที่ได้รับการอบรมโดยตรง
จากสถาบันพระปกเกล้าและกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของแกน
นำพลเมืองว่ามีความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงภายหลังมีปฏิบัติการดังกล่าว
และภายใต้เงื่อนไขปัจจัยใด สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จึงได้จัดให้มีการวัดความ
เป็นพลเมืองของประชากรในอำเภอนำร่องทั้ง 10 แห่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ เพื่อศึกษา
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพลเมืองที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่บูรณาการ
และเพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ โดยใช้วิธี
การศึกษาแบบผสมผสาน (mixed method) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยทั้งสองข้อ กล่าวคือ ใช้การศึกษา
วิจัยเชิงปริมาณ (quantitative method) เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ในเรื่องความเปลี่ยนแปลงความเป็น
พลเมืองที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายและใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative method) เพื่อตอบ
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ในเรื่องของเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับ
พื้นที่ โดยตัวแปรและคำถามที่เลือกใช้ในการศึกษาทั้งสองรูปแบบนั้นจะเป็นไปตามกรอบการวัดความเป็น
พลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นซึ่งมี 8 ด้าน ดำเนินการวิเคราะห์ภายใต้กรอบ
การวิจัยที่ผู้วิจัยได้ปรับปรุงขึ้นจากทฤษฎีระบบการเมือง (political system) ร่วมกับแนวคิดทฤษฎีอื่นๆดังที่
กล่าวถึงไปแล้วในบทที่ 2
ในส่วนต่อไปผู้วิจัยจะกล่าวถึงวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพสำหรับงานวิจัยชิ้นนี้
อย่างละเอียด โดยจะเริ่มต้นกล่าวถึงการศึกษาเชิงปริมาณก่อน จากนั้นจึงจะกล่าวถึงการศึกษาเชิงคุณภาพ
ตามลำดับ
42