Page 130 - 21736_Fulltext
P. 130

บทที่ 5

                                                สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ



                              สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพยายามที่จะดำเนินการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
                       และความรุนแรงด้วยสันติวิธี และต้องการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาโดยใช้การไกล่เกลี่ย

                       โดยคนกลาง  เนื่องจากเห็นว่าการใช้กระบวนการยุติธรรมปกติที่มีอยู่แล้วหรือกระบวนการยุติธรรม

                       กระแสหลักที่เน้นการลงโทษผู้กระทำผิดเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกระทำถูกละเลย
                       ไม่ได้รับการเยียวยาจากผลกระทบที่เกิดขึ้น แม้ว่าผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษ แต่ผู้เสียหายไม่ได้มีโอกาส

                       ได้บอกเล่าถึงความต้องการที่แท้จริงในการเยียวยาถึงความเสียหาย การไกล่เกลี่ยจึงเปรียบเสมือน
                       กระบวนการยุติธรรมกระแสรองที่ใช้เสริมกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ซึ่งกระบวนการ

                       ยุติธรรมปกติยังคงทำหน้าที่ต่อไป แต่ใช้ควบคู่กันไปด้วยกระบวนการยุติธรรมกระแสรองด้วยการไกล่

                       เกลี่ยโดยคนกลาง

                              งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางใน

                       สถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา การ
                       ดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มี

                       ประสบการณ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการไกล่เกลี่ยคนกลาง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา

                       อาจารย์ที่รับผิดชอบ ผู้นำนักศึกษา ผู้ไกล่เกลี่ย (คนกลาง) นักเรียน/นักศึกษา ที่เป็นคู่กรณี และผู้ที่
                       ผลักดันให้เกิดหน่วยงานด้านสันติวิธีขึ้นในสถานศึกษา แห่งละ 10 คน รวมเป็น 40 คน จาก

                       สถาบันการศึกษา 4 แห่ง ประกอบด้วย 1) ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจ

                       บัณฑิตย์  2) โรงเรียนพนมสารคาม พนมอดุลวิทยา จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) โรงเรียนสตรีนนทบุรี และ
                       4)โรงเรียนสตรีนครสวรรค์  สถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีประสบการณ์ในการ

                       ไกล่เกลี่ยโดยคนกลางมายาวนานหลายปี กับกลุ่มที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยมาไม่มากนัก การเก็บข้อมูลใช้
                       วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) และการสัมภาษณ์ทั้งแบบมี

                       ระบบและไม่มีระบบ (Structured and Unstructured Interviews) ในช่วงแรกเป็นการพัฒนา
                       กรอบแนวคิดปัจจัยแห่งความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง จากแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

                       จากนั้นได้สัมภาษณ์และปรึกษาหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการไกล่เกลี่ยคนกลาง หลังจากนั้น นักวิจัย

                       ได้ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจบริบทและสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของสถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง และ
                       สัมภาษณ์แบบไม่มีระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ต่อมาจึงได้ดำเนินการเก็บ

                       ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีระบบ โดยมีแนวคำถามที่เป็นคำถามเดียวกัน มีมาตรฐานเดียวกัน

                       เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ในการจัดกลุ่มและวิเคราะห์เครื่องมือ ได้แก่ แนวคำถาม
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135