Page 166 - 21736_Fulltext
P. 166
145
ถาม: ถ้าอาจารย์เกษียณความต่อเนื่องของงานจะเป็นอย่างไรในอนาคต
ผู้บริหาร:
ในเมื่อเรามีศูนย์ฯ ที่เข้มแข็งอยู่แล้วก็จะยังคงความต่อเนื่อง และคิดว่าถ้าอาจารย์คนใหม่มา
ท่านก็คงให้การสนับสนุนเพราะถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดี อย่างน้อยก็ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งภายใน
โรงเรียนได้
ถาม: ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนางาน
ผู้บริหาร:
ทางศาลน่าจะให้โอกาสเราได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้บ้าง เพื่อจะได้นำกรณีศึกษามาปรับใช้ใน
โรงเรียน ส่วนของโรงเรียนนั้นก็จะดำเนินการตามกระบวนการของเราอยู่แล้ว และผู้ปกครองนั้นก็จะมี
การเปลี่ยนทุกปีเราก็จะแจ้งให้เขาทราบว่าโรงเรียนของเรานั้นมีกระบวนการไกล่เกลี่ย เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจ
ทั้งนี้ เราไม่ได้จำแนกว่าเป็นเรื่องไหน ถ้ามีการขัดแย้งเราก็นำเข้าศูนย์ฯ เราช่วยกันพิจารณา ถ้าคู่กรณี
คุยกันแล้วสามารถประนีประนอมกันได้เราก็จะส่งเข้ากระบวนการ คือ ให้เด็กคุยกันเป็นหลัก เพราะ
บางทีผู้ใหญ่ก็ไม่เข้าใจวัยรุ่น บางทีกับครูนั้นเขาอาจจะเกิดความกลัว ไม่กล้าพูด
ถาม: เมื่อเกิดข้อตกลงในการไกล่เกลี่ยแล้ว มีขั้นตอนอย่างไรต่อไป
นักเรียน:
เมื่อเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยแล้วจะมีแบบฟอร์มเพื่อให้กรอกข้อมูลว่าคู่กรณียอมรับกันทั้ง 2
ฝ่าย
ถาม: หน้าที่ในการไกล่เกลี่ย (นักเรียน ม. 6/5 และ ม. 6/6: พัชรา สุปรียา กาญจนา)
นักเรียน:
เมื่อเกิดปัญหาก็จะเขาไปไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดการประนีประนอมกัน ปีที่แล้วเด็ก ม. 3 มี
ปัญหากัน นัดน้องมาเจอกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องยินดีที่จะเข้ามาสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย
โดยจะมีคนช่วยในการไกล่เกลี่ยอีก 2 คน ซึ่งอยู่ชั้น ม. 6 เหมือนกัน เมื่อนัดหมายคู่กรณีได้แล้ว จะให้
เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดยที่เราทราบเรื่องแล้วบ้าง เราจะหาวิธีที่จะให้เขาสามารถคุยกันได้ เป็นพี่น้องกันได้
เหมือนเดิม จากนั้นจะติดตามข่าวสารว่ายังทะเลาะกันอยู่หรือไม่ แต่เขาก็ไม่ทะเลาะกันอีก และมีการ
เซ็นข้อตกลงในแบบฟอร์มว่าจะไม่ทำอีก และส่งให้ฝ่ายปกครอง
ถาม: เมื่อไกล่เกลี่ยเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือ
นักเรียน:
ส่งเรื่องให้ฝ่ายปกครอง โดยที่ก่อนหน้าที่จะให้เราไกล่เกลี่ยนั้น น้องทั้ง 2 คนได้คุยกับฝ่าย
ปกครองมาก่อนแล้ว จากนั้นส่งเรื่องมาที่ศูนย์ฯ เพื่อให้ทั้ง 2 คนปรับความเข้าใจกัน เคสที่เคยเจอคือ
มองหน้ากันแล้วมีเรื่องกัน ไม่ค่อยมีเคสทะเลาะกันหนักๆ เมื่อเข้าไปทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ทั้ง 2 ฝ่ายก็