Page 163 - 21736_Fulltext
P. 163
142
ครั้งที่ 2 การสัมภาษณ์ผู้บริหาร และอาจารย์/นักเรียน
วันที่ 7 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนสตรีนนทบุรี
_________________________________________________________________________
ผู้ให้ข้อมูล:
นางแน่งน้อย ดีถาวร รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีนนทบุรี
นางสาวพัชรา นางสาวสุปรียา นางสาวกาญจนา นักเรียน ม. 6/5 และ ม. 6/6
ถาม: ความเป็นมาในการจัดตั้ง
ผู้บริหาร:
จัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ตอนนั้นท่านรองฯ ยังไม่มา ท่าน อาจารย์ดูแลอยู่ ทางศาลเข้ามา
ประสานกับ อาจารย์ เห็นว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนหญิงล้วน และมองเห็นว่าเหมาะที่จะจัดตั้งศูนย์
ไกล่เกลี่ยเพื่อฟื้นฟูสัมพันธภาพและเยียวยาคู่กรณีโรงเรียนสตรีนนทบุรี สมัยนั้นท่านวิเชียร พุทธิวิญญู
ท่านเป็นผู้ว่าฯอยู่ มีศาลจังหวัดนนทบุรี และสมาคมฯ ของคุณประกายรัตน์ก็ประสานมา ซึ่งพี่อู๊ดเป็น
นายกสมาคมฯ ของสถาบันบัณฑิตสตรีกฎหมายแห่งประเทศไทย และมีมูลนิธิของสภาสตรีอีก เห็นว่า
โรงเรียนนี้เหมาะ จึงมาจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้น ตอนนั้นท่านผู้ว่าฯ ก็มาเปิดงาน และมีการอบรมทั้งนักเรียน
ผู้ปกครอง และครู เกี่ยวกับเรื่องกระบวนการไกล่เกลี่ย และได้ดำเนินการกิจการของศูนย์ฯมาเรื่อยๆ
ตัวเองมารับงานตอนปี พ.ศ. 2554 ก่อนหน้านี้อยู่โรงเรียนบดินทรนนทบุรี โรงเรียนนั้นก็มีเขตพื้นที่
บริการซึ่งเป็นเหมือนกับโรงเรียนมือสองที่ว่าเด็กเข้าโรงเรียนใหญ่ ไม่ได้ก็ไปเรียนที่นั่น มีทั้งเด็ก ญ/ ช
จะมีการทะเลาะกันเยอะ พอเข้ามาที่สตรีนนท์ ก็เห็นเรื่องศูนย์ไกล่เกลี่ย เห็นว่าน่าจะมีปนระโยชน์
สำหรับนักเรียน น่าจะพัฒนาและดูแลให้ศูนย์ฯ นั้นเกิดความยั่งยืน จึงได้ศึกษารูปแบบของศูนย์ฯ และ
คนที่อบรมนั้นจะเป็นนักเรียน ม. 6 ซึ่งจะจบไปในแต่ละปี จึงปรึกษากับพี่อู๊ดและคุณหมออ้อยก็เข้ามา
ดูแลโรงเรียนทั้ง 2 ท่านก็บอกว่าจัดอบรมใหม่เลยดีหรือไม่ เราจึงจัดอบรมโดยสถาบันบัณฑิตและสภา
สตรีรวมกันกับมูลนิธิการศึกษาที่เกี่ยวกับสันติวิธีได้ให้งบประมาณมา ตอนนั้นเราคิดว่าถ้าไม่มีการ
ทะเลาะกันในห้องเรียนก็จะไม่เกิดปัญหาในโรงเรียน จึงเอาตัวแทนของแต่ละห้องเข้ามาอบรม ได้
วิทยากรจากศาลและทางพี่อู๊ดช่วยเป็นวิทยากรให้ อบรม 2 วัน ปัญหาของเราคือ มีเคสน้อย แต่เราก็ดู
ว่าเรื่องไหนที่ทำให้นักเรียนของเราลดความขัดแย้งลงได้ ก็จะส่งเข้ากลุ่มนักเรียนกลุ่มนี้ แต่ปัญหาอีก
อย่างคือ ในปี 54 นั้นเราให้ส่งตัวแทนทุกห้อง ถ้าเป็นนักเรียน ม.ต้นที่เข้าอบรม เด็กจะยังมีวุฒิภาวะ
น้อย แต่พอปี 55 การที่จะให้เด็ก ม.ต้นเข้าไปร่วมไกล่เกลี่ยเป็นไปค่อนข้างยาก เราจึงคิดว่าน่าจะเป็น
เด็ก ม.ปลาย ฉะนั้นเวลามีเรื่องไกล่เกลี่ยก็จะให้เด็ก ม.ปลายเข้าร่วมไกล่เกลี่ย เคสของเราจะมีเรื่อง
ขโมยของ เพราะโรงเรียนของเรานั้นเป็นโรงเรียนเขตพื้นที่บริการ เด็กที่เข้ามาจะมีความหลากหลาย มี
การจับฉลาก 50% จะมีเด็กกลุ่มเสี่ยงบ้างที่จะมาสร้างปัญหาให้กับโรงเรียนทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่