Page 167 - 21736_Fulltext
P. 167
146
ยอมรับเราให้ทำหน้าที่แต่ถ้าคุยกับครูเขาจะไม่กล้าเล่าเรื่องทั้งหมด โดยปีที่ผ่านมานั้นมีเคสประมาณ
2 เรื่อง
ถาม: ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
นักเรียน:
เวลานัดคู่กรณีมาไกล่เกลี่ย คนหนึ่งมา อีกคนหนึ่งไม่ยอมมา เพราะเวลาของคู่กรณีไม่ตรงกัน
ก็จะทำการนัดอีกจนกว่าจะได้คุยกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยจะนัดเวลาเลิกเรียน
ถาม: ประสบการณ์ที่ประทับใจ
นักเรียน:
คือเรื่องที่มองหน้ากัน ไกล่เกลี่ยแล้วน้องกลับมาพูดคุยกันเหมือนเดิม
ถาม: ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ
นักเรียน:
ต้องมีความใจเย็น ถ้าเรายิ่งพูดแรง น้องก็จะยิ่งแรง และมีความเป็นกลางต้องไม่เอนเอียง
เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
อาจารย์:
จะมีการจัดเป็นสี 5 สี ถ้าเด็กอยู่สีไหน ก็จะให้พี่สีนั้นเป็นคนไกล่เกลี่ย
อาจารย์:
เรื่องภาษาเขียนก็เป็นปัญหา ซึ่งเราต้องมาดูอีกครั้งหนึ่ง อย่างน้อยเขาก็ได้เรียนรู้การไกล่
เกลี่ย เด็กที่จะเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องมี portfolio ว่าตอนเรียนมัธยมนั้นได้ทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง
มันก็จะเป็นประโยชน์กับเขา กระบวนการไกล่เกลี่ยตอนที่เราประเมินรางวัลโรงเรียนพระราชทาน เขา
ให้เสนอ 3 โครงการเด่น เราเสนอ สตรีศรีดอกแก้ว เพชรพลับพลา และกระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งถือ
ว่าเป็นโครงการเด่นของโรงเรียน และเราก็ได้รางวัลโรงเรียนพระราชทานมา ในปี 2555
อาจารย์:
ปี 2555 เราได้พาเด็กไปดูงานที่ รร.พนมสารคาม โดยการเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตว่ามี
โรงเรียนใดที่มีความเข้มแข็งในเรื่องนี้บ้าง เพื่อไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและเรียนรู้ ตอนหลังก็ไป
แลกเปลี่ยนเรื่องระเบียบวินัยมากกว่า ไปดูเรื่องไกล่เกลี่ยแค่ครั้งเดียวที่พนมสารคาม ส่วนที่ รร.บางบัว
ทองนั้นเขาจัดอบรมเรื่องการไกล่เกลี่ยเท่านั้น ไม่ทราบว่าเป็นศูนย์หรือเปล่า
ถาม: ช่วยเล่าเรื่องกระบวนการตั้งแต่ต้นในการจัดการความขัดแย้ง
อาจารย์:
1. ครูที่ปรึกษา แจ้งมาว่าห้องนี้ทะเลาะกัน เขาจะพาเด็กมาที่ฝ่ายกิจการนักเรียน สมัยก่อน
เรียกว่า ฝ่ายปกครอง
2. ครูที่เข้าอบรมเรื่องการไกล่เกลี่ยก็จะเข้าไปพูดคุยก่อน เชิญผู้ปกครองมาคุยด้วย