Page 52 - 22432_fulltext
P. 52
51
การค้าประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี
ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2.2.3. การเปรียบเทียบคดีภายใต้มาตรา 79 ของพ.ร.บ.การเเข่งขันฯ
หลักของการเปรียบเทียบความผิดคือการตกลงยินยอมของคู่ความทั้งสองฝ่ายหลังจากการสืบสวน
สอบสวนเสร็จสิ้น เเต่ก่อนหน้าที่ศาลจะมีค าตัดสิน การเปรียบเทียบความผิดมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายเเละ
139
ความล่าช้าของค าตัดสิน เพื่อการนี้หน่วยงานการเเข่งขันทางการค้าต้องมีอ านาจที่จะใช้ระบบไกล่เกลี่ยเพื่อ
จบคดีหรือเปรียบเทียบคดี ซึ่งในกรณีนี้คือคดีเกี่ยวกับการร่วมกันจ ากัดการแข่งขัน โดยกิจการธุรกิจยอมรับ
ความผิดเพื่อโทษที่ลดลง
การเปรียบเทียบคดีปรากฏในมาตรา 79 ของพระราชบัญญัติการเเข่งขันฯ ซึ่งระบุว่า
“บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอ านาจเปรียบเทียบได้ ในการใช้ออ านาจ
ดังกล่าวคณะกรรมการอาจมอบหมายให้เลขาธิการกระท าการแทนได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ช าระเงินค่าปรับตามจ านวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่ก าหนดแล้ว ให้ถือว่า คดี
เลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การก าหนดจ านวนเงินค่าปรับที่จะเปรียบเทียบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่
คณะกรรมการประกาศก าหนด”
มาตราดังกล่าวให้อ านาจในการเปรียบเทียบความผิดของผู้ต้องหาให้แก่คณะกรรมการฯ หรือ
เลขาธิการที่ได้รับการมอบหมายในการ โดยคดีจะถือว่าเลิกต่อกันเมื่อผู้ต้องหาจะต้องจ่ายค่าปรับตามจ านวนที่
เปรียบเทียบ
ค่าปรับเมื่อมีการเปรียบเทียบโดยปกติจะไม่ได้เป็นจ านวนน้อยลงมากนัก และถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบ
กับการปรับลดตามมาตรการลดหย่อนโทษ (leniency programme) ในสหภาพยุโรป ที่เป็นเช่นนี้เพราะ
140
ต้องการให้มาตรการลดหย่อนโทษคงเเรงจูงใจให้กิจการต่าง ๆ ยอมสารภาพและร่วมมือกับหน่วยงานในการ
สืบสวนอย่างเสมอๆ มากกว่าที่จะรอการหน่วยงานจับผิดได้ได้และรับผิดไปเอง เมื่อการเปรียบเทียบสามารถ
139 UNCTAD, Competition Guideline: Leniency Programmes (2016), MENA Programme, p. 13.
140 OECD, Challenges and Co-Ordination of Leniency Programmes Background Note (2018), p. 12 – 13.