Page 39 - b29259_Fulltext
P. 39
68
หรือ “Electoral System” ซึ่งไปด้วยหลายระบบด้วยกัน อาทิ ระบบ
เสียงข้างมากทั่วไป (Simple Majority System) ระบบเสียงข้างมาก
เด็ดขาด (Absolute Majority System) ระบบสัดส่วน (Proportional
System) ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน
69
ผู้ยกร่างกำาหนดระบบการเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
เรียกว่าเป็น “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” โดยผสมผสานกันระหว่างระบบ
เสียงข้างมากทั่วไปและระบบสัดส่วน กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ จำานวน
สมาชิกทั้งสิ้น 500 คน กรณีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตสำาหรับสมาชิก
350 คน จะใช้ระบบการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากทั่วไป และใช้ระบบ
70
การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อกับสมาชิกส่วนที่เหลืออีก 150 คน
4. อ�านาจและหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรที่ถืออำานาจนิติบัญญัติ (Legislative
Power) ตามที่ได้เคยอธิบายขยายความไปก่อนหน้านี้แล้วบ้าง อย่างไรก็ดี ยังมี
คนจำานวนมากที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวคือ เข้าใจไปว่าองค์กรแห่งนี้มีหน้าที่ก็แต่เพียงตรากฎหมาย ทั้งนี้
อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเข้าไปทำาความเข้าใจในความหมายของ
68 Pippa Norris, Choosing Electoral Systems: Proportional, Majoritarian
and Mixed Systems 1 (1997).
69 Arend Lijphart, Constitutional Choices for New Democracies, Vol.2
Journal of Democracy No.1 72-73 (1991).
70 โปรดดู หมวด 7 รัฐสภา ส่วน 2 มาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 39 39