Page 103 - kpiebook62001
P. 103

2561) และจากการสัมภาษณ์ก็พบว่ามีบางส่วนไม่มีเลขบัตรประจ าตัวประชาชน 13 หลัก หรือไม่มีบัตรประจ าตัว

               ประชาชนและไม่สามารถหาผู้ยืนยันตัวได้ก็ถือว่าเป็นปัญหาในการกีดกันเช่นกัน
                       ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เปิดช่องไว้ส าหรับความผิดช่องในการเจาะจงอยู่ 3 ทางคือ 1. ให้ผู้ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติ

               ยื่นเรื่องอุทธรณ์ได้ และ 2. ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ส านักงาน

               เศรษฐกิจการคลังหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจจะใช้เกณฑ์รายได้ของครอบครัวมาร่วมพิจารณาด้วย และส าหรับ
               ผู้สูงอายุที่มีบุตรหลานดูแลกับผู้สูงอายุที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ก็อาจมีการพิจารณาปรับสวัสดิการให้แตกต่างกัน

               3. กระทรวงการคลังยืนยันว่าควรมีการลงทะเบียนทุกปีเพื่อให้มีการประเมินรายได้ใหม่ทุกครั้ง ดังที่ได้ระบุไว้ในวิธีการ

               ของการลงทะเบียน พ.ศ. 2559 (ไทยพีบีเอส, 2561) ถึงแม้ว่ากระทรวงการคลังออกมาประกาศหลายครั้งว่าใครก็ตามที่
               ท าผิดกฎ มีคุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ หรือแม้กระทั่งบุคคลที่เต็มใจไม่เข้ารับการฝึกอาชีพ กระทรวงการคลังจะด าเนินการ

               ตัดสิทธิ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่ากระทรวงการคลังได้ด าเนินการตัดสิทธิไปแล้วกี่รายและในกรณีใดบ้าง

                       ถัดจากการวิเคราะห์ความสามารถในการเจาะจงและการกระจายประโยชน์ น ามาสู่ประเด็นเรื่องประสิทธิผลใน
               การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ า ซึ่งเป็นเป้าหมายส าคัญของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อย่างน้อย

               ที่สุดอ้างอิงจากเอกสารของส านักงานเศรษฐกิจการคลังดังที่ได้ทบทวนไปในบทที่ 3 ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าทั้งสองอย่างนี้

               เป็นหมายหลักของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ค าถามที่ส าคัญก็คือหน่วยงานผู้ด าเนินนโยบายต้องการแก้ไขปัญหา
               ความยากจนและความเหลื่อมล้ าในความหมายที่กว้าง ลึก และยั่งยืนมากเพียงใด

                       จากมุมมองของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฉพาะวงเงินที่ให้ซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ จากการสัมภาษณ์

               ส่วนใหญ่เห็นว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพได้บ้าง แม้ว่าทั้งหมดจะเห็นตรงกันว่ายังต้องจ่ายเงิน
               เพิ่มส าหรับสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละเดือน ในแง่นี้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็อาจจะ

               มองว่าโครงการนี้ช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนได้บ้าง

                       จากมุมมองด้านสถิติวิชาการแบบตื้นเขิน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐน่าจะช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนได้ ถ้ายึด
               ตามนิยามความยากจนของสภาพัฒน์ฯ เพราะนิยามดังกล่าวใช้เส้นความยากจนในการคัดกรองว่าคนที่ใช้จ่ายต่ ากว่าเส้น

               ความยากจนในแต่ละเดือนถือว่าเป็นคนจน ดังนั้น ในการจัดท าส ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนด้านรายจ่ายใน

               แต่ละปี ถ้านับรวมว่าวงเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นรายจ่ายส่วนหนึ่งของผู้ตอบส ารวจ ก็น่าจะมีกลุ่มคนจ านวน
               หนึ่งที่มีการใช้จ่ายเกินเส้นความยากจนไปได้ วงเงินที่ให้น าไปใช้นั้นยังมีความสม่ าเสมอทุกเดือนซึ่งก็น่าจะส่งผลให้การใช้

               จ่ายเพื่อการนั้นมีความสม่ าเสมอ (smoothed consumption) ด้วยเช่นกัน

                       หากมองปัญหาเรื่องความยากจนในมิติอื่น ๆ ด้วย เช่น ในแง่ความยั่งยืนของการแก้ปัญหา การให้วงเงินส าหรับ
               การใช้จ่ายนั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวอย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ หรือการฝึก

               อาชีพ (ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดและปัญหาของมาตรการในหัวข้อถัดไป) ก็ตาม นอกเหนือจากมาตรการพัฒนา

               คุณภาพชีวิตฯ ยังไม่มีมาตรการในระยะยาวอื่นใดที่เป็นการมองภาพการแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างความมั่นคง
               ทางรายได้ให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในระยะยาว ทั้งในแง่ของวิธีการจัดท าโครงการ เงื่อนไข และการผลักดัน




                                                               94
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108