Page 126 - kpiebook62001
P. 126
เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ แล้วโครงการนี้มีอัตราการคอร์รัปชันที่ต่ ากว่า สาเหตุของอัตราการคอร์รัปชันที่น้อย
กว่ามีอยู่สองประการ คือ หนึ่ง โครงการพยายามจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุโดยตรงโดยไม่ผ่านตัวกลาง เช่น จ่ายให้เป็นเช็ค
หรือเงินโอน สอง เงินที่ผู้สูงอายุได้รับอยู่ในอัตราที่ต่ า ท าให้ไม่ดึงดูดการคอร์รัปชัน
5.1.3 จีน
ลักษณะส าคัญของปัญหาความยากจนในประเทศจีนคือสภาพที่แตกต่างที่ชัดเจนระหว่างชนบทและเมือง ความ
ยากจนในจีนนั้นเกิดขึ้นมากกว่าในชนบทอย่างเป็นส าคัญ ความแตกต่างดังกล่าวยังถูกเสริมจากกฏระเบียบที่จ ากัด
โอกาสการย้ายเข้ามาอาศัยในเมืองของคนชนบท ท าให้คนจนในชนบทไม่สามารถหาโอกาสจากการย้ายถิ่นฐาน ด้วย
สภาพเช่นนี้ การแก้ปัญหาความยากจนในจีนจึงโยงมุ่งไปที่พื้นที่ชนบทอย่างเป็นส าคัญ (Wang, 2005) จีนเริ่มออก
นโยบายเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทมาตั้งแต่คศ.1986 และในปีคศ. 1994 ยังได้ออกแผนที่ชื่อว่า
‘Eight-Seven Poverty Reduction Plan’ (แผน 8-7) เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคนจนกว่าแปดสิบล้านคนใน
ประเทศออกจากสภาพความยากจน
(1) กระบวนการเจาะจง
กระบวนการเจาะจงคนจนของจีนนั้นใช้การเจาะจงผ่านพื้นที่เป็นส าคัญ โดยรัฐบาลกลางจะท าการคัดกรองเขต
ที่มีปัญหาความยากจน โดยคัดเลือกผ่านเกณฑ์เช่นรายได้เฉลี่ยของประชากร และจะกระจายเงินทุนผ่านรัฐบาลในระดับ
จังหวัดเพื่อสนับสนุนการด าเนินนโยบายแก้ปัญหาความยากจนในเขตเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม การคัดกรองพื้นที่ยากจน
ของจีนถูกวิพากษ์ไว้ในช่วงแรกเริ่มว่ามีปัญหาการเอนเอียงจากอิทธิพลทางการเมือง (Park et al., 2002) เช่น พื้นที่ที่
เคยเป็นฐานสนับสนุนส าคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ก็มักจะได้การคัดเลือกให้ได้รับความช่วยเหลือก่อน และท าให้พื้นที่
เขตที่ยากจนจริงหลายเขตต้องถูกกีดกันออกไป (Meng 2013)
หลังจากช่วงแรกของการด าเนินการ กระบวนการเจาะจงผ่านพื้นที่ของจีนได้รับการปรับปรุงให้มีความแม่นย า
ยิ่งขึ้นพร้อม ๆ กับการด าเนินงานแผน 8-7 โดยมีการปรับเกณฑ์ระดับความยากจนให้สูงขึ้นเพื่อให้สามารถเพิ่มพื้นที่เขต
ยากจนเข้ามาได้ ในปี 2001 รัฐบาลจีนมีการปรับการคัดกรองพื้นที่ยากจนอีกครั้งเพื่อสะท้อนสภาพที่ความยากจนในจีน
ไม่ได้เป็นความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) อีกต่อไป โดยหันมาเน้นการแก้ปัญหาในพื้นที่ที่ห่างจากชายฝั่ง
เช่น พื้นที่ภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศ ซึ่งมีระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจน้อยกว่า เป็นพื้นที่เป้าหมายใน
การคัดเลือกเขตยากจน
แผน 8-7 ได้รับการศึกษาว่าประสบผลส าเร็จอย่างมากในการเพิ่มรายได้ให้กับเขตยากจน โดยมีการคาดการณ์
ว่าแผนดังกล่าวสามารถเพิ่มรายได้ในเขตยากจนถึงกว่า 38 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปีคศ.1994-2000 (Meng 2013) โครงการ
ส าคัญภายใต้แผน 8-7 ประกอบไปด้วยสามโครงการ คือโครงการอุดหนุนสินเชื่อ โครงการสร้างงาน และการอุดหนุน
งบประมาณให้รัฐบาลท้องถิ่น ในส่วนต่อไปจะอธิบายรายละเอียดของทั้งสามโครงการนี้
117