Page 127 - kpiebook62001
P. 127
(2) นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนของจีน
โครงการอุดหนุนสินเชื่อ สัดส่วนงบประมาณแก้ความยากจนส่วนใหญ่ของจีนถูกใช้ไปกับโครงการอุดหนุน
สินเชื่อให้ครัวเรือนยากจนในภาคเกษตร โครงการไม่ได้เพียงให้สินเชื่อแต่ยังมีการช่วยเหลือในการด าเนินการประกอบ
อาชีพ โดยครัวเรือนยากจนจะสามารถน าสินเชื่อไปลงทุนในการปลูกพืชเกษตร การเลี้ยงสัตว์ หรือการแปรรูปสินค้า
เกษตร โครงการอุดหนุนสินเชื่อได้รับการปรับรายละเอียดในเวลาต่อมาให้เน้นไปที่การให้สินเชื่อกับวิสาหกิจขนาดเล็ก
เนื่องจากรัฐบาลจีนพบว่าครัวเรือนที่ยากจนมักจะขาดความรู้และศักยภาพในการบริหารสินเชื่อ จึงหันมาเน้นการ
สนับสนุนวิสาหกิจแทน โดยจะเลือกสนับสนุนวิสาหกิจที่มีสัดส่วนลูกจ้างมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากครัวเรือนยากจน
(Wang et al. 2004)
อย่างไรก็ตาม การเลือกสนับสนุนวิสาหกิจสร้างปัญหาให้กับการแก้ปัญหาความยากจน เนื่องจากการสนับสนุน
ไปที่วิสาหกิจนั้นเป็นเพียงการช่วยอุดหนุนคนจนทางอ้อม ท าให้ผลในการลดความยากจนเกิดไม่มาก ทั้งนี้วิสาหกิจอาจ
น าสินเชื่อไปลงทุนกับปัจจัยทุนมากกว่า ท าให้คนยากจนไม่ได้รับประโยชน์เท่าไหร่ นอกจากนี้ ในการคัดเลือกวิสาหกิจ
ให้ได้รับสินเชื่อช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลโครงการยังมักจะเอนเอียงไปเลือกวิสาหกิจที่มีศักยภาพการลงทุน มากกว่า
การเลือกวิสาหกิจในลักษณะที่จะส่งผลในการลดปัญหาความยากจน ด้วยปัญหาเหล่านี้ ประสิทธิภาพการเจาะจงของ
โครงการจึงเกิดอย่างจ ากัด การส ารวจในปีคศ.1990 พบว่าสัดส่วนสินเชื่อที่คนจนได้รับนั้นอยู่ที่เพียง 30-45 เปอร์เซ็นต์
เท่านั้น (Rozelle et al., 1999) และด้วยข้อจ ากัดเหล่านี้ ในปี 1996 โครงการจึงมีการปรับรูปแบบกลับมาเน้นให้
สินเชื่อไปที่ครัวเรือนยากจนเหมือนเดิม
โครงการจ้างงาน สร้างการจ้างงานให้กับแรงงานอุปทานส่วนเกินในพื้นที่ยากจน โดยจ้างแรงงานเหล่านั้นใน
การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน แหล่งเก็บน้ าหรือกรองน้ าดื่ม การจัดการโครงการนี้เริ่มจากรัฐบาลกลางแจกจ่าย
คูปองไปที่กรรมการในระดับท้องถิ่นเพื่อใช้จ่ายให้กับแรงงานในโครงการ รัฐบาลกลางและรัฐบาลของจังหวัดจะเลือก
ชนิดชนิดการลงทุน และรัฐบาลในระดับเขตเลือกพื้นที่การก่อสร้าง ท้ายที่สุดกรรมการหมู่บ้านจะเป็นคนลงทุนและท า
การจ้างงาน ส่วนประกอบส าคัญของโครงการจ้างงานคือการจ่ายค่าตอบแทนหลัก ๆ จะไม่อยู่ในรูปตัวเงิน แต่จะเป็น
การจ่ายในรูปคูปองที่สามารถน าไปแลกเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้จ าเป็นอื่น ๆ
ปัญหาที่พบในโครงการนี้ก็คือการขาดแคลนงบประมาณจากรัฐบาลท้องถิ่น ตามเงื่อนไขแล้วรัฐบาลกลางจะต้อง
ให้รัฐบาลในระดับจังหวัดและเขตร่วมจ่ายงบของโครงการ แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลในระดับอื่น ๆ มักจะไม่ได้มี
งบประมาณให้กับโครงการเพียงพอ ท าให้แรงงานที่เข้าร่วมขาดโอกาสได้ผลตอบแทนไปด้วย สัดส่วนของแรงงานที่ขาด
ผลตอบแทนอาจสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานที่ร่วมโครงการ (Wang et al. 2004) อย่างไรก็ดี ผลของโครงการนี้ยัง
ได้รับการประเมินไว้ค่อนข้างดี โดยงบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีประโยชน์ต่อพื้นที่
ยากจนในชนบท เช่น ถนน ระบบชลประทาน ระบบป้องกันน้ าท่วม
การอุดหนุนงบประมาณให้รัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลกลางของจีนยังมีการให้งบประมาณอุดหนุนเฉพาะเขต
ยากจน เพื่อสนับสนุนการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนอื่น ๆ ทั้งในด้านการพัฒนาการเกษตร
118