Page 128 - kpiebook62001
P. 128

การศึกษา และระบบสาธารณสุข ทั้งนี้รัฐบาลท้องถิ่นถูกคาดหวังให้ร่วมจ่ายงบประมาณนี้ด้วย  งบส่วนนี้แตกต่างไปจาก

               โครงการจ้างงานตรงที่ไม่ได้มีการให้ค่าตอบแทนกับผู้ร่วมโครงการ ทั้งนี้งานศึกษาผลจากการอุดหนุนงบประมาณพบว่า
               งบจ านวนมากยังถูกกระจายไปให้พื้นที่ที่ไม่ได้ยากจน นอกจากนี้ ด้วยเพราะรัฐบาลท้องถิ่นมีอ านาจมากในการตัดสินใจ

               ใช้งบประมาณ ท าให้งบอาจถูกใช้ไปผิดวัตถุประสงค์การลดความยากจน เช่น ใช้เพื่ออุดหนุนงบประมาณประจ าที่ขาด

               หรือใช้ลงทุนโดยมุ่งไปที่ผลตอบแทนโครงการแทนที่จะเป็นผลในการลดความยากจน (Wang, 2005)
                       ในภาพรวมแล้ว การเจาะจงผ่านพื้นที่ในทั้งสามโครงการที่กล่าวถึงเผชิญปัญหาคล้ายกัน โดยเป็นปัญหาที่มา

               จากระบบการเจาะจงผ่านพื้นที่เอง เช่น การเลือกพื้นที่มักจะถูกบิดเบือนด้วยอิทธิพลทางการเมือง ทั้งนี้เมื่อการคัดเลือก

               ถูกบิดเบือนแต่แรกแล้วยังยากที่แก้ไข เนื่องจากการคัดพื้นที่ที่ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมแล้วออกเป็นเรื่องที่ท าได้ยาก
               ในทางการเมือง (Park et al., 2002) นอกจากนี้การเลือกพื้นที่ยากจนยังเผชิญความยากล าบากในขั้นตอนการวิเคราะห์

               ข้อมูล เช่น ยังไม่มีการปรับเส้นความยากจนให้เหมาะสมกับภูมิภาคต่าง ๆ และที่ส าคัญ การเจาะจงผ่านพื้นที่ยังท าให้

               เกิดปัญหาการคลาดเคลื่อนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวคือคนยากจนในพื้นที่ที่รายได้เฉลี่ยสูงจะหลุดจากเป้าหมาย ในขณะที่
               คนร่ ารวยในพื้นที่ยากจนกลับถูกนับรวมเข้าเป็นเป้าหมาย Wang et al. (2004) พบว่าด้วยสภาพเช่นนี้ผู้ที่ได้รับ

               ประโยชน์จากโครงการสวัสดิการเพื่อช่วยคนจนของจีนมากกว่าก็คือกลุ่มคนรายได้สูงที่อาศัยในพื้นที่ยากจน

                   5.1.4 บทเรียนจากกรณีศึกษาการด้าเนินนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน


                        กรณีศึกษาทั้งสามชี้ให้เห็นถึงถึงรูปแบบการเจาะจงคนจนที่ถูกน ามาใช้จริง และปัญหาส าคัญต่าง ๆ ที่เกิด
               ขึ้นกับกระบวนการเจาะจงในแต่ละรูปแบบ (ดูตารางสรุป 5.1)


                         ตารางที่ 5.1 สรุปเปรียบเทียบกรณีศึกษาสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน อินโดนีเซีย อินเดีย จีน

                                          อินโดนีเซีย                 อินเดีย                     จีน


                แนวทางการเจาะจง การเจาะจงแบบพิสูจน์ฐานะ     การเจาะจงแบบพิสูจน์ฐานะ    การเจาะจงผ่านพื้นที่
                ที่ส้าคัญ         (means-tested)  การเจาะจง  (means-tested) และการเจาะจง (geographical-based targeting)

                                  ด้วยตนเอง (self-targeted) และ ด้วยชุมชน (community-based
                                  การเจาะจงด้วยชุมชน        targeting)
                                  (community-based targeting)



                ตัวอย่างนโยบาย    โครงการช่วยเหลือหมู่บ้าน  โครงการส่งเสริมการจ้างงาน   โครงการอุดหนุนสินเชื่อ
                และปัญหาที่พบ     ยากจน                     รูปแบบ: กระจายเงินสู่พื้นที่เพื่อ  รูปแบบ: การอุดหนุนสินเชื่อให้

                                  รูปแบบ: กระจายเงินทุนให้  สร้างการลงทุน ใช้การคัดกรอง  วิสาหกิจขนาดเล็ก
                                  หมู่บ้านยากจนและให้กรรมการ  ผ่านชุมชนและการจ้างงานด้วย  ปัญหา: การคัดเลือกเอนเอียงไปที่
                                  ตัวแทนชุมชนคัดเลือกครัวเรือน  ค่าจ้างต่ าเพื่อดึงดูดแรงงานยากจน  วิสาหกิจที่ให้ผลตอบแทนกับการ

                                  ยากจนรับการอุดหนุน


                                                               119
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133