Page 37 - kpiebook62001
P. 37
ในโรงเรียนอย่างสม่ าเสมอ ในปัจจุบันมีคนในภูมิภาคละตินอเมริกากว่า 129 ล้านคนที่ได้รับประโยชน์จากสวัสดิการใน
รูปแบบนี้ งานศึกษาโดย Stampini and Tornarolli (2012) พบว่าในภูมิภาคละตินอเมริกานั้นนโยบายการให้เงิน
อุดหนุนพร้อมเงื่อนไขได้ช่วยอุดหนุนรายได้ของครัวเรือนที่ยากจนเป็นสัดส่วนถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ และหาก
ปราศจากนโยบายดังกล่าวสัดส่วนประชากรที่อยู่ในความยากจนจะสูงขึ้นกว่าเดิมถึงกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ ความส าเร็จของ
นโยบายนี้ส่งผลให้ประเทศก าลังพัฒนาต่างหันมาสนใจน านโยบายในรูปแบบเดียวกันไปใช้
อย่างไรก็ตาม นอกจากการก าหนดเงื่อนไขที่โยงกับการเข้าเรียนของบุตรธิดาแล้ว การให้สวัสดิการแบบมี
เงื่อนไขยังอาจเกิดขึ้นได้ในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น การให้เงื่อนไขอยู่ในรูปแบบของการเข้าฝึกทักษะใหม่ๆในการท างาน
เพื่อกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้งหนึ่ง ดังที่เกิดขึ้นในประเทศเช่นปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และประเทศไทยในกรณีของ
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เงื่อนไขในรูปแบบอื่น ๆ ก็เช่น การต้องส่งบุตรธิดาเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ าเสมอ หรือ
การจะต้องใช้แรงงานเพื่อท างานให้กับโครงการของรัฐ ดังที่เกิดกับโครงการสร้างการจ้างงานส าหรับคนจนในประเทศ
เช่นอินเดียและจีน
นอกจากการสนับสนุให้การได้นับสวัสดิการแบบเจาะจงเกิดผลต่อเนื่องไปสู่กิจกรรมที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
อื่น ๆ แล้ว การก าหนดเงื่อนไขให้กับสวัสดิการแบบเจาะจงยังถูกมองว่าจะช่วยปรับมุมมองจากสาธารณะต่อสวัสดิการ
แบบเจาะจง โดยช่วยลดมุมมองว่าสวัสดิการแบบเจาะจงนั้นก่อให้เกิดการพึ่งพิงเพียงอย่างเดียว และมองว่าผู้ได้รับ
สวัสดิการแบบเจาะจงยังต้องมีความพยายามพัฒนาศักยภาพของตนเองหรือคนในครอบครัว อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อ
วิพากษ์ต่อการสร้างเงื่อนไขที่มาพร้อมสวัสดิการแบบเจาะจงเช่นกัน โดยข้อวิพากษ์ที่ส าคัญก็คือการสร้างเงื่อนไขอาจจะ
ท าให้คนที่ยากจนบางส่วนนั้นไม่อาจท าตามได้จนต้องสูญเสียโอกาสในการได้รับสวัสดิการไป และเท่ากับว่าคนจนเหล่านี้
ถูกละเมิดสิทธิพื้นฐานที่พวกเขาควรจะได้รับสวัสดิการ
2.3 ปัญหาและความท้าทายของของสวัสดิการแบบเจาะจง
การน าเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมาใช้จะมีแรงจูงใจส าคัญก็คือการลดต้นทุนในการด าเนิน
สวัสดิการ และสร้างประสิทธิภาพให้กับการใช้จ่ายรัฐบาลบนฐานทรัพยากรทางการคลังที่มีอยู่อย่างจ ากัด แต่กระนั้น
นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงก็ไม่ได้ปราศจากต้นทุนและปัญหา ในส่วนนี้คณะวิจัยจะน าเอาปัญหาส าคัญสามประการที่
มักจะพบกับนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงมาอธิบายในรายละเอียด ได้แก่ ต้นทุนของการเจาะจง ข้อผิดพลาดในการ
เจาะจง และการรั่วไหลของทรัพยากร
2.3.1 ต้นทุนของการเจาะจงสวัสดิการ
แม้ว่าสวัสดิการแบบเจาะจงเองจะอยู่บนฐานแนวคิดสนับสนุนว่าช่วยลดต้นทุนที่ไม่จ าเป็นในการให้สวัสดิการ
กับประชากรกลุ่มที่อาจไม่ได้ต้องการสวัสดิการ แต่พร้อม ๆ กับการลดต้นทุนดังกล่าวก็ยังมีต้นทุนอีกมากหมายที่เกิดขึ้น
พร้อมกับการน าสวัสดิการแบบเจาะจงมาใช้ ต้นทุนเหล่านี้เป็นอุปสรรคส าคัญที่อาจท าให้สวัสดิการแบบเจาะจงไม่ได้มี
ประสิทธิภาพในการบรรลุผลในสร้างประสิทธิภาพให้กับการใช้จ่ายของรัฐบาลเสียทีเดียว
28