Page 38 - kpiebook62001
P. 38
ต้นทุนในการบริการจัดการ นับเป็นต้นทุนที่ส าคัญที่สุดของสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน กระบวนส าคัญใน
การเจาะจงก็คือการเก็บข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูลเพื่อคัดกรองผู้ได้รับสวัสดิการว่ามีฐานะยากจนหรือไม่นั้นเป็น
กระบวนการที่ต่างก็ให้เกิดต้นทุนมหาศาล โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นของคนจน ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า
การจะได้ข้อมูลมาโดยสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่ยาก การจะท าให้การเจาะจงที่คนจนนั้นแม่นย าจึงมักจะส่งผลให้ต้นทุนการ
ด าเนินนโยบายสูงขึ้นตามไป (Besley and Kanpur, 1990)
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของการเจาะจงยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยอื่น ๆ ยังมีความเป็นไปหากการเจาะจงท าได้ดีขึ้น
และลดจ านวนการเจาะจงที่ผิดพลาดในการนับรวมคนที่ไม่ควรได้รับสวัสดิการ ก็อาจท าให้จ านวนผู้ได้รับสวัสดิการลดลง
และช่วยลดต้นทุนในการด าเนินนโยบาย เมื่อเป็นเช่นนี้ การลงทุนเพื่อให้กระบวนการเจาะจงนั้นมีความแม่นย ามากขึ้น
จึงสามารถส่งผลให้ต้นทุนของนโยบายทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงได้ในเวลาเดียวกัน โจทย์ส าคัญที่ผู้ด าเนินนโยบายจะต้อง
ค านึงจึงเป็นการเปรียบเทียบว่าการต้นทุนในการบริหารการเจาะจงให้แม่นย าที่เกิดขึ้นนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่
อีกปัจจัยที่ควรค านึงถึงเกี่ยวกับต้นทุนในการบริหารจัดการสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนก็คือการออกแบบ
กระบวนการ โดยต้องค านึงว่ากระบวนการทั้งหมดนั้นมีความซับซ้อนเพียงใด รวมถึงว่ารัฐบาลมีศักยภาพในการบริหาร
จัดการความซับซ้อนนั้น ๆ ได้ไหม หากกระบวนการมีความซับซ้อนมากและรัฐขาดศักยภาพในการด าเนินการ เช่น ขาด
ฐานข้อมูลเกี่ยวกับประชากร ขาดเจ้าหน้าที่มีความสามารถ ต้นทุนของการเจาะจงก็มักจะสูงขึ้นตามไป งานศึกษาจ านวน
มากพบว่าประเทศก าลังพัฒนามักจะพบกับต้นทุนในการบริหารจัดการการเจาะจงสวัสดิการที่สูงเนื่องจากรัฐขาดข้อมูล
ที่พึงมี (Coady, 2004; Grosh, 1994) เนื่องจากสภาพตลาดแรงงานในประเทศก าลังพัฒนาเต็มไปด้วยการจ้างงานมักจะ
ไม่เป็นทางการ รวมไปรายได้จากภาคการเกษตรมีความผันผวนสูงท าให้การคาดการณ์รายได้ที่แม่นย าไม่สามารถท าได้
ต้นทุนในการบิดเบือนแรงจูงใจ เป็นต้นทุนส าคัญอีกประการ ต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อโอกาสการได้รับสวัสดิการ
ไปบิดเบือนพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของคนยากจน ตัวอย่างเช่น ท าให้พวกเขาเสียแรงจูงใจในการท างานเพราะไม่
ต้องการให้รายได้ของตนเองมากขึ้นจนเสียสวัสดิการ ส าหรับคนที่ได้รับสวัสดิการอยู่นั้น การที่รายได้เพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่
ตนเองจะได้สวัสดิการลดลง และกลับกลายเป็นผู้ที่ต้องจ่ายภาษีหรือเงินบ ารุงให้กับระบบสวัสดิการอาจเป็นต้นทุนส่วน
เพิ่มส าคัญที่พวกเขาไม่ต้องการ การตั้งเกณฑ์ว่ารายได้เท่าไหร่จะได้รับสวัสดิการแบบเจาะจงจึงเปรียบเสมือนการตั้ง
ระดับรายได้ที่คนจนไม่ต้องการก้าวผ่าน กลายเป็นเสมือนกับดักความยากจนในรูปแบบหนึ่ง (Van Oorschot, 1999)
อย่างไรก็ตาม แม้การสูญเสียแรงจูงใจในการท างานของคนยากจนอาจดูเหมือนจะเป็นปัญหาส าคัญ แต่ต้นทุนเหล่านี้ก็
มักจะเกิดขึ้นน้อยกว่ากับกรณีของประเทศก าลังพัฒนา เนื่องจากระดับของสวัสดิการที่ได้รับในกรณีของประเทศก าลัง
พัฒนามักจะน้อยจนไม่ได้สร้างความแตกต่างมากกับคนที่ก าลังจะพ้นความยากจน (Coady, 2004)
ต้นทุนของสวัสดิการแบบเจาะจงในการบิดเบือนแรงจูงใจยังเกิดขึ้นได้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น การให้สวัสดิการ
แบบเจาะจงโดยเจาะจงไปตามพื้นที่ก็อาจส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของคนบางกลุ่มไปสู่พื้นที่ที่ได้รับสวัสดิการ ส่งผล
ให้ต้นทุนสวัสดิการสูงขึ้นและสูญเสียความแม่นย าในการเจาะจงสวัสดิการเพื่อเข้าถึงคนยากจน (Baker and Grosh,
1994) หรือแม้กระทั่งการให้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนก็อาจส่งผลให้คนจนขาดแรงจูงในการสร้างผลผลิตอย่างเต็มที่
ท าให้สังคมโดยรวมสูญเสียผลผลิตที่ควรจะเกิดขึ้น (Grosh, 1994) นอกจากนี้ การเจาะจงในรูปแบบการอุดหนุนสินค้า
29