Page 59 - kpiebook62001
P. 59
ปัญหาทางการเมืองในช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองประเทศ ท าให้ในช่วง พ.ศ. 2501 มาจนถึง พ.ศ. 2514 นโยบายด้าน
สวัสดิการสังคมจึงมิได้มีพัฒนาการที่เห็นได้ชัด
3.2.2 ช่วงเริ่มต้นงานประกันสังคม พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2540
สวัสดิการด้านการประกันสังคม หรือสวัสดิการที่ผูกโยงกับการท างาน มักถือว่าปี พ.ศ. 2515 เป็นจุดเริ่มต้น
จากการจัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นในกรมแรงงาน เป็นกองทุนที่เก็บเงินสมทบกับนายจ้างตามความเสี่ยงภัยเพื่อ
น ามาใช้ยามที่ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการท างาน (สุรพล ปธานวณิช, 2547) หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2516
กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศค่าจ้างขั้นต่ าขึ้นครั้งแรก โดยก าหนดให้ค่าจ้างไม่ต่ ากว่า 12 บาทต่อวันเฉพาะในเขต
กรุงเทพฯ และปริมณฑล (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ า, 2516) แม้ว่าในช่วงแรก ความ
ครอบคลุมของทั้งสองนโยบายจะค่อนข้างจ ากัด แต่สถานประกอบการเข้าร่วมกับกองทุนเงินทดแทนมากขึ้น และค่าจ้าง
ขั้นต่ าก็ขยายขอบเขตไปยังจังหวัดอื่น ๆ มากขึ้นในเวลาต่อมา
ถัดมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการตรากฎหมายกองทุนส ารองเลี้ยงชีพ โดยให้นายจ้างและลูกจ้างที่สมัครใจจ่ายเงิน
สมทบกองทุนเป็นสัดส่วนของเงินเดือนเพื่อความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเมื่อต้องออกจากงาน โดยภาครัฐจูงใจผู้ประกอบการ
ให้จัดตั้งกองทุนส ารองเลี้ยงชีพผ่านช่องทางการลดหย่อนภาษี (ส านักงานเศรษฐกิจการคลัง, 2541 อ้างใน สุรพล ปธาน
วณิช, 2547)
รัฐบาลที่เป็นผู้แทนจากการเลือกตั้งในสมัยนี้คือรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวรรณ ที่สามารถจัดตั้งรัฐบาล
ได้ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งผลักดันนโยบายพัฒนาประเทศจากเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrialized
Country: NIC) ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม และน ามีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2534
นอกจากนั้น ยังมีการโอนย้ายงานความคุ้มครองด้านสุขภาพจากกรมแรงงานมาสู่ส านักงานประกันสังคมที่จัดตั้งขึ้นในปี
พ.ศ. 2533 กฎหมายประกันสังคมในปี พ.ศ. 2533 นี้ถือว่าเป็นฉบับแรกที่มีผลบังคับใช้เป็นครั้งแรก แม้ว่าจะมีความ
พยายามในการน าระบบประกันสังคมมาใช้แล้วในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และในช่วงของจอม
พล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2495 แต่กฎหมายประกันสังคมขาดผลการบังคับใช้ ในระยะแรกนี้ความครอบคลุมจ ากัดอยู่ที่
สถานประกอบการที่มีการจ้างงานตั้งแต่ 10 คนเป็นต้นไป ก่อนที่เปลี่ยนเป็น 1 คน ในปี พ.ศ. 2545 (ระพีพรรณ ค าหอม
, 2554) ในช่วงเริ่มต้นของการใช้กฎหมายประกันสังคม การคุ้มครองได้รวมถึงการประกันสุขภาพ ทุพพลภาพ คลอด
บุตร และการเสียชีวิต ส าหรับความคุ้มครองการชราภาพ เงินสงเคราะห์บุตร และประกันการว่างงานเป็นความคุ้มครอง
ที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากนั้นประมาณ 10 ปี (สุรพล ปธานวณิช, 2547)
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2504-2519) นั้น นโยบายด้าน
สวัสดิการสังคมไม่ได้มีความคืบหน้าไปมาก การพัฒนาอุตสาหกรรมที่กระจุกตัวในเขตเมืองได้เริ่มส่งผลให้เห็นการพัฒนา
ที่ไม่เท่าเทียม ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ า การผลิตในภาคเกษตรตกต่ า เริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
ในช่วงรัฐบาลของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (พ.ศ. 2518-2519) จึงเริ่มมีกระแสต่อต้านความยากจนเกิดขึ้น ในยุคนี้ได้มี
นโยบายผันเงินสู่ชนบทเป็นจ านวน 6,000 ล้านบาท (ขัตติยา กรรณสูต, 2526 อ้างใน ระพีพรรณ ค าหอม, 2554) และ
50