Page 61 - kpiebook62001
P. 61
ในสมัยนี้ยังมีการริเริ่มนโยบายสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับชนบทมากขึ้น เช่น กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน
การพักช าระหนี้เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปี เป็นต้น นอกจากนั้น มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2547 รับทราบ
นโยบายการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนของประชาชนเชิงบูรณาการ หรือที่รู้จักกันในภายหลังว่าเป็นนโยบาย
“จดทะเบียนคนจน” เพื่อรับทราบข้อมูลความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. ปัญหาที่ดินท ากิน
2. ปัญหาที่อยู่อาศัย 3. ปัญหาหนี้สินของประชาชน และ 4. ปัญหาการท าธุรกิจใต้ดิน โดยขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย ส านักงานต ารวจแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพในการ
รับลงทะเบียนปัญหาข้างต้นโดยใช้เลขบัตรประจ าตัวประชาชน 13 หลัก โดยในระยะแรกมีมติให้เปิดรับจดทะเบียน
ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อน าข้อมูลไปวิเคราะห์ และจัดเตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาสังคมและ
ความยากจนในระยะยาว กระนั้นเอง หลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ท าให้โครงการดังกล่าวหยุดชะงักไป
และไม่ได้ด าเนินการต่อ
ถัดมาในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้เริ่มโครงการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก าหนดไว้ว่าบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ซึ่งได้กลายเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี ในปี พ.ศ. 2552 เป็นสวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการเงินอุดหนุนรายหัว
ซึ่งแตกต่างกันไปส าหรับแต่ละระดับชั้น นอกจากนั้น ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้มีนโยบาย “6 มาตรการ 6
เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งหนึ่งมาตรการเหล่านั้นเป็นที่รู้จักในชื่อนโยบาย “โครงการรถเมล์-รถไฟฟรี” โดย
จัดสรรรถโดยสารประจ าทางส่วนหนึ่ง และรถไฟชั้น 3 ให้ประชาชนโดยสารโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นโยบายดังกล่าวเป็น
นโยบายระยะสั้นหรือเพียง 6 เดือนในระยะแรก แต่หลังจากนั้นได้มีการต่ออายุนโยบายออกไปอีก 21 ครั้ง และได้
ยกเลิกโครงการไปในท้ายที่สุดเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 (ส านักอ านวยการ ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,
2552; พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี และ คณะ, 2560)
ส าหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้มีการโอนย้ายหน้าที่จากกรมประชาสงเคราะห์ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
ปี พ.ศ. 2548 ตามนโยบายการกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่น และได้เพิ่มเบี้ยเป็นเดือนละ 300 บาท 500 บาท และเป็น
ล าดับขั้นบันไดตามอายุในปี พ.ศ. 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรีการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ทั้งนี้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพิจารณาเพิ่มเบี้ยให้กับประชาชนเป็นรายคนได้ แต่ไม่เกินคนละ 1,000 บาทต่อ
เดือนโดยให้พิจารณาตามความเหมาะสม แต่ยังก าหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีภูมิล าเนาในเขตพื้นที่การปกครองส่วนท้องถิ่น
และมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 รัฐบาลได้ริเริ่มนโยบายสร้างหลักประกันรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุโดยเปิดโอกาสให้
ผู้สูงอายุแสดงความจ านงขอขึ้นทะเบียนโดยไม่ต้องมีการคัดกรองด้านความจ าเป็น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจึงได้กลายเป็น
นโยบายสวัสดิการที่จัดสรรงบประมาณแบบสากลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
52