Page 60 - kpiebook62001
P. 60
การออกบัตรผู้มีรายได้น้อยจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้คนจนและคนด้อยโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพของรัฐได้โดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2525 กระทรวงมหาดไทยได้จัดท าดัชนีความจ าเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) และได้มี
การจัดท าแผนพัฒนาการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2530-2534 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการ
พัฒนางานด้านสวัสดิการสังคม (ระพีพรรณ ค าหอม, 2554)
ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เริ่มมีแนวคิดในการสงเคราะห์ผู้พิการ ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.
2534 เพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ มีโอกาสในการด ารงชีพและประกอบอาชีพเท่าเทียมกับคน
ปกติ นอกจากนั้น กรมประชาสงเคราะห์ได้ผลักดันเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใน พ.ศ. 2535 โดยในระยะแรกนั้นจัดสรรให้
ผู้สูงอายุ หมู่บ้านละ 3-5 คน คนละ 200 บาทต่อเดือน ต่อมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้เพิ่มเบี้ยยังชีพเป็น 300 บาทต่อ
เดือน และขยายขอบเขตความครอบคลุมมากขึ้นเรื่อย ๆ
กล่าวโดยสรุปได้ว่าในช่วงนี้ระบบสวัสดิการสังคมได้ก่อตั้งขึ้นและคงอยู่ได้มาจากถึงปัจจุบันจากหลายปัจจัย
ร่วมกัน อาทิ ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม ความตื่นรู้ต่อการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมและสิทธิใน
ระบอบประชาธิปไตย พร้อมกันนี้ได้เกิดกระแสการพัฒนาชนบทและความยากจนขึ้นจากการกระจุกตัวของการพัฒนา
อุตสาหกรรม ท าให้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ าเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นในสังคมไทย
3.2.3 ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน
นโยบายที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งส าคัญของประเทศไทยมีลักษณะแตกต่างจากช่วงก่อนหน้า
กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก าหนดให้ “รัฐจะต้องกระจายอ านาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและ
ตัดสินใจกิจการท้องถิ่นได้เอง” ส่งผลสืบเนื่องให้มีการตราพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เป็นการเปิดช่องให้มีการจัดสวัสดิการชุมชน นอกจากนั้นนโยบาย
สวัสดิการแบบถ้วนหน้าเริ่มปรากฏขึ้น และส าหรับนโยบายเชิงสงเคราะห์ก็ยังคงเกิดขึ้นเพิ่มเติม มีการขยายจ านวนเงิน
ในการสงเคราะห์ หรือขยายขอบเขตความครอบคลุมกลุ่มบุคคลที่ได้รับการสงเคราะห์ออกไป
การกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ท าให้เกิดโครงการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Project: SIP)
เป็นหัวใหญ่ที่มีการจัดตั้งกองทุนย่อยอีก 2 กองทุน ได้แก่ 1. กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment
Fund: SIF) เป็นกองทุนให้เปล่าจ านวน 120 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 2. กองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค (Regional
Urban Development Fund: RUDF) เป็นเงินให้กู้ส าหรับเทศบาลจ านวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อขยายเขตเมือง
(ภูวิศ ประสาทไทย, 2546)
ส าหรับนโยบายในลักษณะถ้วนหน้า ในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรด ารงต าแหน่งนายกรัฐมนตรี นโยบายหนึ่ง
ที่มีความส าคัญล าดับต้น ๆ คือโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในนาม “30 บาทรักษาทุกโรค” หรือ
“บัตรทอง” เริ่มต้นประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2544 ท าให้ประชาชนที่ไม่มีประกันสุขภาพภาคบังคับ หรือสิทธิข้าราชการและ
ประกันสังคมเข้าถึงบริการสุขภาพได้โดยมีค่าธรรมเนียมในการรักษาพยาบาลครั้งละ 30 บาท หน่วยงานรับผิดชอบคือ
ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (สุรพล ปธานวณิช, 2547)
51