Page 62 - kpiebook62001
P. 62

3.3 พัฒนาการทางความคิดของนโยบายช่วยเหลือแบบเจาะจงที่คนจน


                       เนื้อหาในส่วนที่ผ่านมาได้อภิปรายถึงการจัดตั้งกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงสาธารณสุข การตรา

               พระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่แสดงการความพยายามขยายขอบเขตสวัสดิการให้ครอบคลุมกลุ่มคนมากขึ้นในสมัยจอมพล ป.
               พิบูลสงคราม กระนั้นเอง ระบบสวัสดิการยังไม่ลงหลักปักฐานอย่างมีนัยส าคัญ เนื่องจากการกลับเข้าสู่อ านาจของจอม

               พล ป. ในสมัยที่ 2 นั้นไม่มีฐานอ านาจ ท าให้จอมพล ป. ต้องแสวงหาความนิยมมากขึ้นผ่านการขอความช่วยเหลือจาก

               ประเทศสหรัฐอเมริกา และพยายามผลักดันการสร้างระบบประกันสังคมซึ่งไม่ประสบความส าเร็จเพื่อคานอ านาจกับ
               กลุ่มผิน-เผ่า ชุณหะวัณ และจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (อภิชาต สถิตนิรามัย, 2556; ธร ปีติดล, 2560)

                       ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญเมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ขึ้นสู่อ านาจ ในปี

               พ.ศ. 2502 ทั้งนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกามีท่าทีในการให้เงินช่วยเหลือประเทศอย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าสมัยของจอมพล ป.
               ด้วยบริบทสงครามเย็นในขณะนั้น สหรัฐอเมริกาต้องการต่อต้านแนวคิดคอมมิวนิสต์ที่รายล้อมประเทศไทย และลักษณะ

               ของจอมพล สฤษดิ์ นั้นมีความเด็ดขาดมากกว่า จอมพล ป. ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้ส่งเงินช่วยเหลือ รวมถึงส่งคณะ

               ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาจากสหรัฐอเมริกาและธนาคารโลกเข้าประจ าการในหน่วยเศรษฐกิจที่ตั้งขึ้นใหม่ (อภิชาต สถิต
               นิรามัย, 2556) จึงถือว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีบทบาทส าคัญในการชี้น าทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในรูปแบบเสรี

               นิยมใหม่อย่างมาก ซึ่งทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวก็ส่งผลต่อการก าหนดรูปแบบของนโยบายสวัสดิการของไทย

               ในเวลาถัดมา

                   3.3.1 ขบวนการชาวนาและความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. 2516


                       การพัฒนาสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เน้นไปที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมในเมืองเป็น
               ส าคัญ แต่กลับเพิกเฉยต่อการพัฒนาชนบทและชาวนาชาวไร่ที่เสียประโยชน์จากการครอบครองที่ดิน แรงกดดันหลักต่อ

               ชาวไร่ชาวนาเกิดขึ้นใน 2 ภูมิภาค ได้แก่ (1) กลุ่มภาคกลางตอนเหนือ เนื่องจากเกิดการจับจองไร่นาของผู้อพยพในปี

               พ.ศ. 2500 พื้นที่ป่าจ านวนมากถูกตัดโค่นส่งผลให้เกิดปัญหาระบบนิเวศ รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ผันผวน ก่อให้เกิด
               ปัญหาหนี้สิน และชาวนาบางกลุ่มสูญเสียที่ดินจับจองให้เจ้าหนี้หรือข้าราชการท้องถิ่น (2) กลุ่มที่ราบลุ่มภาคเหนือ

               ชาวนาชาวไร่มีจ านวนมากและต้องแย่งกันจับจองเช่าที่ดินท ากิน (สาเหตุมาจากการรวมรัฐล้านนาในปี พ.ศ. 2440 และ

               มอบที่ดินให้กับกลุ่มเจ้าเมืองท้องถิ่นจ านวนมาก) อัตราค่าเช่าที่ดินในภาคเหนือสูงกว่าในภาคกลางกว่าร้อยละ 50 (ผาสุก
               และคริส, 2546) และส่วนใหญ่นายทุนเจ้าที่ดินเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ท าให้เกษตรกรเช่าแบบแบ่งกึ่ง หรือแบ่ง

               ผลผลิตครึ่งหนึ่งให้กับนายทุนเจ้าของที่ดิน ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาการกู้หนี้ยืมสินและดอกเบี้ยในอัตราสูงยิ่งขูดรีดท า

               ให้เกษตรกรใช้ชีวิตอย่างยากล าบาก (ประพันธุ์ คูณมี, 2560) ในภาพรวม เขตเมืองที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วกว่าชนบท
               นั้นยิ่งท าให้ความเหลื่อมล้ าปรากฎชัดเจนขึ้น

                       หนึ่งในนโยบายส าคัญที่ซ้ าเติมและท าหน้าที่ดูดซับส่วนเกินจากชนบทเข้าสู่เมืองคือ “พรีเมี่ยมข้าว” เป็นอ านาจ

               ของพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 ที่กระทรวงเศรษฐการใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งข้าวออกของ



                                                               53
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67