Page 63 - kpiebook62001
P. 63

เอกชน เนื่องจากรัฐเป็นผู้ผูกขาดการค้าข้าวตั้งแต่ พ.ศ. 2488 รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (2530) กล่าวสรุปในส่วนการ

               วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายพรีเมี่ยมข้าวต่อสวัสดิการสังคมไว้ว่า
                              “รัฐบาลได้ด าเนินนโยบายในลักษณะที่เป็นการลงโทษชาวนาผู้เพาะปลูกข้าวอย่างมาก

                       กล่าวคือ รัฐบาลได้ด าเนินการปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศด้วยการตั้งก าแพงภาษีซึ่งท า

                       ให้ชาวนาต้องซื้อสินค้าหัตถอุตสาหกรรมในราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะที่การเก็บพรีเมี่ยมข้าวท า
                       ให้ชาวนาได้รับผลตอบแทนจากการเพาะปลูกต่ ากว่าที่ควรจะเป็น การด าเนินนโยบายในลักษณะ

                       ดังกล่าวนี้จึงมีส่วนบั่นทอนฐานะทางเศรษฐกิจของชาวนาเป็นอันมาก”

                       ความขัดแย้งจากการพัฒนาแบบทวิลักษณ์ (Dual track) ของภาคอุตสาหกรรมในเมืองและชนบท ประกอบ
               ความตื่นตัวจากขบวนการนักศึกษาใน พ.ศ. 2516 เป็นเหตุผลให้ขบวนการชาวนาตัดสินใจเคลื่อนเข้ามายัง

               กรุงเทพมหานครถึง 4 ครั้งใน พ.ศ. 2517 เพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลในการประกันราคาข้าว ลดพรีเมี่ยมข้าว ควบคุมราคา

               น้ ามันเชื้อเพลิงและปุ๋ยให้ถูกลง เมื่อผนวกกับกระแสพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแล้ว ขบวนการชาวนาได้เรียก
               ร้องว่าหากรัฐบาลไม่ให้ความช่วยเหลือจะประกาศตั้งเขตแดนปลดปล่อยตนเองและคืนบัตรประชาชนเพื่อถอนตัวจาก

               การเป็นคนไทย ขบวนการชาวนาได้ก่อตั้งเป็น “สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย” ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517

               (ประพันธุ์ คูณมี, 2560; คมชัดลึก, 2560) ข้อเรียกร้องของขบวนการชาวนาท าให้ฝั่งรัฐบาลจ าต้องลดแรงเสียดทานจาก
               ความขัดแย้งเพื่อคงไว้ซึ่งศักยภาพและเสถียรภาพของภาคอุตสาหกรรม และได้น าไปสู่การออกมาตรการต่าง ๆ อาทิ

                       (1) พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 ให้มีการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และ

               องค์การตลาดเพื่อการเกษตร ก าหนดให้รายได้จากพรีเมี่ยมข้าว ไม่ต้องน าส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ให้สมทบเข้ากองทุน
               สงเคราะห์เกษตรกรโดยตรง ซึ่งเปรียบเสมือนจุดสิ้นสุดของนโยบายพรีเมี่ยมข้าว อีกทั้งหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ

               กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติในชั้นต้น เริ่มเปลี่ยนท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับ

               นโยบายพรีเมี่ยมข้าว ตั้งแต่ พ.ศ. 2512-2519 (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, 2530)
                       (2) การประกันราคาข้าว พ.ศ. 2518 แม้ว่านโยบายประกันราคาข้าวจะเริ่มต้นใช้ในปี พ.ศ. 2508 แต่ราคา

               ประกันต่ ากว่าราคาตลาดจึงไม่มีผลในเชิงปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 ได้ปรับราคา

               ประกันให้สูงกว่าราคาตลาด โดยใช้งบประมาณรายรับที่ได้จากการค้าข้าวหรือเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในการ
               รับซื้อข้าว ชมภูนุช หุ่นนาค (2559) กล่าวว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องการเอาใจประชาชนกลุ่มชาวนามากขึ้น จึง

               ได้ปรับราคาประกันสูงขึ้น และใช้นโยบายพยุงราคาเฉพาะช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ท าให้นโยบายมีลักษณะประชานิยม

               มากขึ้น
                       (3) พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ก าหนดให้จัดตั้งส านักงานการปฏิรูปที่ดิน

               เพื่อเกษตรกรรมภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการ

               ปฏิรูปที่ดินจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ให้ด าเนินงานด้าน “…การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิ และการถือครองในที่ดินเพื่อ
               เกษตรกรรมรวมถึงการจัดที่อยู่ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยรัฐน าที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจาก

               เจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ท าประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกร

                                                               54
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68