Page 68 - kpiebook62001
P. 68

ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรยังจัดท าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนโยบายจ าน าข้าวใน

               ยุครัฐบาลทักษิณ พ.ศ. 2544 รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ พ.ศ. 2549 รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พ.ศ. 2551 รัฐบาลยิ่ง
               ลักษณ์ ชินวัตร พ.ศ. 2554 และนโยบายประกันราคาสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ.ศ. 2552 (ชมภูนุช หุ่นนาค,

               2559)  ในแต่ละช่วงเวลาต่างก็มีระดับราคาการประกันและการจ าน าที่แตกต่างกันออกไป การจัดท านโยบายที่เน้นให้

               การพัฒนาชนบทและช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรไม่ปรากฎแรงจูงใจชัดเจนในยุคนี้ แต่มักจะถูกวิพากย์วิจารณ์เหมารวมว่า
               เป็นนโยบายลักษณะประชานิยมที่เน้นผลได้ทางการเมืองเสียมากกว่า


                   3.3.4 การยกเลิกหรือปรับรูปแบบนโยบายสวัสดิการสมัยรัฐบาล คสช. ในปัจจุบัน

                       ในช่วงของรัฐบาล คสช. ทิศทางของนโยบายสวัสดิการเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในการเจาะจงช่วยเหลือคนจน

               หลังจากที่ได้ด าเนินนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว ประการแรก รัฐบาล คสช. ได้ท าการยกเลิก มาตรการลดค่าครอง
               ชีพของประชาชนด้านการเดินทาง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘โครงการรถเมล์-รถไฟฟรี’ ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งด าเนินการมา

               ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551

                       ประการที่สอง คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เห็นชอบให้กระทรวงการคลังด าเนิน
               โครงการสละสิทธิ์การรับเบี้ยผู้สูงอายุโดยสมัครใจ เพื่อน าเบี้ยยังชีพเข้ากองทุนผู้สูงอายุส าหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มี

               รายได้น้อยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้สูงอายุที่ต้องการบริจาคเบี้ยยังชีพสามารถแสดงความจ านงได้ที่องค์กรปกครองส่วน

               ท้องถิ่นที่ได้ลงทะเบียนไว้ ผู้บริจาคเบี้ยยังชีพจะได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติสลักข้อความ “ร่ ารวย สุขภาพดี อายุยืน” และ
               “เหรียญเชิดชูเกียรติ ส าหรับผู้บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” แม้ว่าตามเอกสารมติคณะรัฐมนตรีมีการระบุไว้ชัดเจนว่าตั้ง

               เป้าการจัดท าเหรียญส าหรับปี พ.ศ. 2561 ไว้ 50,000 เหรียญ แต่ตั้งแต่ช่วง 4 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2561 มีผู้เข้าร่วม

               โครงการเพียง 400 คนเท่านั้น จากผู้ลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุไว้ 8 ล้านคน (เดลินิวส์, 2561) จากการสัมภาษณ์
               นักวิชาการด้านสวัสดิการท่านหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่น่าจะต้องการสละสิทธิ เนื่องจากมองว่าการ

               รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น ‘สิทธิ’ ไปแล้ว

                       ประการที่สาม ในปี พ.ศ. 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเคยกล่าวว่างบประมาณส าหรับส านักงาน
               หลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เพียงพอ เนื่องจากโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นโครงการประชานิยม แม้

               ประชาชนได้ประโยชน์แต่ประเทศไทยมีความพร้อมหรือไม่ในด้านการคลัง และโรงพยาบาลเองก็มีความเสี่ยงที่จะ

               ล้มละลาย (MThai, 2558) แม้ว่าภายหลังพลเอกประยุทธ์เองและโฆษกประจ าส านักนายกรัฐมนตรีจะออกมายืนกราน
               ว่าไม่มีแนวคิดในการยกเลิกโครงการดังกล่าว แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียม

               เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่เสียเงินร่วมจ่าย 30 บาท (ไทยรัฐ, 2561)

                       ทั้งนี้ คณะวิจัยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความเห็นต่อความเหมาะสมในการยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบ
               นโยบายดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากต้องมีการศึกษาในเชิงเทคนิคเพื่อยืนยันความเหมาะสมของนโยบายต่าง ๆ

               เพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นท่าทีของรัฐบาล คสช. ว่ามีทิศทางมุ่งหน้าไปสู่การจัดนโยบายสวัสดิการที่เจาะจงไปที่คนจน

               เท่านั้น รัฐบาล คสช. ยังมีท่าทีที่แตกต่างกันส าหรับแต่ละโครงการ กล่าวคือ ส าหรับโครงการรถเมล์-รถไฟฟรีนั้น


                                                               59
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73