Page 66 - kpiebook62001
P. 66

3.3.3 ช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน

                       หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งส าคัญในปี พ.ศ. 2540 รูปแบบนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจนไม่ได้

               เพิ่มขึ้นมากนัก แต่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มประโยชน์ในสวัสดิการเดิมที่มีอยู่ เนื่องจากรัฐบาลมีความจ าเป็นในการรัดเข็มขัด

               การใช้จ่าย เช่น ในปี พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เพิ่มราคาบัตรสุขภาพชุมชนเป็น 1,500 บาท แต่กระทรวง
               สาธารณสุขอุดหนุนให้ใบละ 1,000 บาทโดยให้ประชาชนจ่าย 500 บาท ก่อนที่นโยบายจะเปลี่ยนเป็นสวัสดิการแบบ

               ถ้วนหน้าครั้งแรกซึ่งก็คือโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปี พ.ศ. 2544 อย่างไรก็ตาม นโยบายเพื่อช่วยเหลือกลุ่ม

               เกษตรกรและคนจนก็ยังคงจัดท าควบคู่กันไป สังเกตได้จากการก่อตั้งกองทุนต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในช่วงเวลานี้ อาทิ
               กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2541 กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนา

               เกษตรกร พ.ศ. 2542 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 (ปราณี ทินกร, 2550)

                       เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศที่น ามาจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมในช่วง พ.ศ. 2542 ดังที่กล่าวไปใน
               ส่วนที่ 3.2.3 นั้นแบ่งออกเป็น 5 โครงการย่อย โดยโครงการประเภทที่ 5 (เมนู 5) หรือ โครงการจัดสวัสดิการชุมชน

               เร่งด่วนเพื่อผู้ยากล าบาก มีลักษณะเป็นเงินให้เปล่าที่ให้ท้องถิ่นจัดสรรเป็นสวัสดิการชุมชนกับกลุ่มคนยากจน ผู้ที่มีความ

               ยากล าบาก หรือได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ งบประมาณส าหรับเมนู 5 คิดเป็นร้อยละ 49 (2,070 ล้านบาท)
               ของกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (ภูวิศ ประสาทไทย, 2546) การจัดการเงินทุนที่ได้รับไปส าหรับแต่ละท้องถิ่นเป็น

               อ านาจการตัดสินใจของท้องถิ่นเอง ซึ่งนโยบายลักษณะนี้เข้าข่ายการจัดสวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจนเช่นกัน

               เพียงแต่การบริหารจัดการ กระบวนการคัดเลือก เกณฑ์ในการคัดเลือก รูปแบบการช่วยเหลือนั้น มิได้ถูกก าหนดจาก
               ส่วนกลาง ดังนั้น ผลการด าเนินงานจากเงินช่วยเหลือดังกล่าวจึงมิได้รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ

                       การค้นหาตัวคนจนเริ่มปรากฎในนโยบายระดับชาติอีกครั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 นายกรัฐมนตรีทักษิณ

               ชินวัตร เสนอกับคณะรัฐมนตรีว่าจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ “แก้ไขปัญหาสังคม
               และความยากจนของประชาชนเชิงบูรณาการ” โดยเสนอให้มีการน าระบบลงทะเบียนมาใช้จัดเก็บข้อมูลความยากจน

               และความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ปัญหาที่ดินท ากิน (2) ปัญหาคนเร่ร่อน (3) ปัญหาผู้ประกอบ

               อาชีพผิดกฎหมาย (4) ปัญหาการให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาให้มีรายได้จากอาชีพที่เหมาะสม (5) ปัญหาการ
               ถูกหลอกลวง (6) ปัญหาหนี้สินภาคประชาน (7) ปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน และให้กระทรวงมหาดไทยรับจดทะเบียน

               ปัญหาอื่น ๆ นอกเหนือจาก 7 ประเภทข้างต้น

                       การด าเนินการลงทะเบียน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์เชิงลึกในชุมชน มอบหมายให้
               กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และกรุงเทพมหานครรับผิดชอบ (2) การจดทะเบียน ให้

               กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานครรับผิดชอบ (3) การบันทึกข้อมูล ให้กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร

               รับผิดชอบ (4) การตรวจสอบและการยืนยันข้อมูล ให้กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ
               กรุงเทพมหานครรับผิดชอบ (5) การรายงานผล ให้กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองส่วน

               ท้องถิ่น และกรุงเทพมหานครรับผิดชอบ นอกจากนั้น ตามเอกสารมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546



                                                               57
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71