Page 103 - kpiebook62010
P. 103
96
17 มีนาคม 2552 ก่อนที่จะให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และตรงกับข้อเสนอของ
นายโรเจอร์ โลหนันท์ สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเห็นว่า การกำหนดหลักเกณฑ์ว่าการกระทำใดเป็นการกระทำที่เป็นการ
ทารุณกรรมสัตว์ไว้อย่างชัดเจนเกินไป ก็อาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ก็ได้ เช่นตาม
ความคิดเห็นของสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ที่ให้เหตุผลว่า การบัญญัติ
กฎหมายที่มีรายละเอียดมากเกินไป ก็จะยิ่งเป็นการจำกัดตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
สาธิต ปรัชญาอริยะกุล นิติกรสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทยเห็นว่า การที่
กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์กำหนดไว้ด้วยถ้อยคำที่กว้างเช่นใน มาตรา 20 ที่บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใด
กระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” และมีข้อยกเว้นการกระทำที่ไม่ถือเป็นการทารุณ
กรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุจำเป็น 11 ข้อ นั้นเป็นการเขียนกฎหมายไว้เพื่อให้ครอบคลุมทุกกรณีและเหมาะสมดีแล้ว
เพราะพฤติกรรมในภายภาคหน้าอาจจะมีลักษณะการทารุณกรรมสัตว์เพิ่มขึ้น ก็สมควรที่จะบัญญัติในลักษณะกว้าง
ไว้ก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้มีการต่อสู้ให้เพิ่มเติมข้อห้ามการทารุณกรรมสัตว์ 20 ข้อนั้น แท้จริงแล้วสมาคมก็เป็นผู้เสนอ
แต่เป็นการเสนอเพื่อให้มีลักษณะเป็นตัวอย่างของการทารุณกรรมสัตว์ แต่ไม่ใช่การเสนอเพื่อให้นำไปบัญญัติตัวบท
กฎหมาย เนื่องจากทางสมาคมเห็นว่า ยิ่งถ้าบรรจุข้อห้าม 20 ข้อนี้เข้าไป จะทำให้พระราชบัญญัติฉบับนี้มีปัญหา
มากยิ่งขึ้น หากเทียบกับกฎหมายการกระทำความผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิต เช่นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ก็ยังบัญญัติเพียง
ว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น...” เพราะกฎหมายมุ่งหมายจะเอาโทษถึงผลลัพท์สุดท้ายคือการทำให้เกิดความตาย
หากมีการระบุข้อห้ามการทารุณกรรมสัตว์ 20 ข้อลงไปในกฎหมาย กลับจะยิ่งทำให้กฎหมายฉบับนี้
แคบลง เนื่องจากพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่นข้อห้ามการทารุณกรรมสัตว์ 20 ข้อ ไม่มีข้อไหนเลย
ที่ว่าการใช้น้ำแรงดันสูงฉีดสัตว์ หรือการจับเต่ามาหงายกระดองขึ้นแล้วตากแดดนั้นเป็นความผิด ทั้งๆ ที่สองกรณี
ถือเป็นการทารุณกรรมทั้งสิ้นซึ่งถ้าบัญญัติข้อห้ามการทารุณกรรม 20 ข้อไว้ ทั้งสองกรณีก็จะไม่ถือเป็นความผิด 6
จึงมีข้อพิจารณาว่าควรมีการบัญญัติรายละเอียดของการกระทำที่ให้ถือว่าเป็นการทารุณกรรม
ต่อสัตว์เพิ่มเติมหรือไม่
เนื่องจากตามที่มีผู้ศึกษาและตั้งข้อสังเกตดังที่เสนอไว้ข้างต้นแล้วว่านิยามดังกล่าวยังไม่ชัดเจน
เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่าการกระทำใดบ้างที่ถือเป็นการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์ แตกต่างจาก
บทบัญญัติในลักษณะเดียวกันที่ปรากฏในกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมต่อสัตว์ของต่างประเทศ ซึ่งมักจะมี
บทบัญญัติที่กำหนดไว้มีรายละเอียดขยายความว่าการกระทำใดบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำอันถือเป็นการทารุณ
กรรมต่อสัตว์บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตที่ว่าหากมีการบัญญัติลักษณะของการกระทำที่ให้ถือว่าเป็นการทารุณ
กรรมของสัตว์ไว้โดยละเอียด ก็อาจจะทำให้การปรับบทบังคับใช้กฎหมายนั้นแคบลงได้
5 ประชาชนขอเพิ่ม 20 ข้อห้าม ใน ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ..... iLaw. สืบค้น
เมื่อ พฤศจิกายน 2559, สืบค้นจาก : https://ilaw.or.th/node/3329
6 สาธิต ปรัชญาอริยะกุล นิติกรสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) (สัมภาษณ์, 29 มิถุนายน 2560)
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557