Page 105 - kpiebook62010
P. 105
98
กฎหมายของประชาชนไปในทางที่ว่า ไม่สามารถที่จะทำการใดๆ ที่ถือเป็นการป้องกันสัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายที่จะมาทำ
อันตรายได้เลย เนื่องจากอาจจะถือว่าเป็นการกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์ตามกฎหมายนี้
มีกรณีปรากฏตามข่าวในสื่อมวลชนว่า ด.ช. อาทิตย์ กลิ่นสุคนธ์ อายุ 2 ปี 8 เดือน ถูกสุนัขจรจัด
ที่ริมคลองชุมชนวัดสะพาน ย่านคลองเตยกัดจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นบาดแผลฉกรรจ์ บริเวณตาข้างซ้าย และ
ศีรษะหลายแผลซึ่งประชาชนในละแวกดังกล่าวเปิดเผยว่า สุนัขจรจัดกลุ่มนี้ไล่กัดเด็กในละแวกนั้นหลายทีแล้ว
แต่ไม่มีใครกล้าทำอะไรเพราะกลัวว่าจะถือเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ 7
นพดล ปกรณ์นิมิตดี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้ความเห็นว่าไม่ว่าสัตว์ที่มีเจ้าของ
หรือไม่มีเจ้าของ บุคคลก็ควรได้รับสิทธิในทางกฎหมาย ในการป้องกันอันตรายที่จะมาถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายของ
มนุษย์ ดังนั้น สิ่งที่ขาดในกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ คือการกำหนดเหตุลดโทษ
บรรเทาโทษ หรือยกเว้นความรับผิดทางอาญา เพราะการกำหนดโทษทางอาญาด้านเดียวแก่ผู้ทารุณกรรมสัตว์
ซึ่งสาเหตุแห่งการทารุณกรรมสัตว์ อาจมาจากความจำเป็นในทางป้องกันตัว โดยต้องทำร้ายสัตว์ก่อนที่จะได้รับ
อันตราย ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงน้อย 8
สาธิต ปรัชญาอริยะกุล นิติกรสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ให้ความ
เห็นในประเด็นนี้ว่าปัญหาของกฎหมายฉบับนี้คือไม่มีคำพิพากษาฎีกา ทำให้คนไม่สามารถสร้างบรรทัดฐานได้ว่า
ลักษณะแบบไหนที่ถือว่าจะเป็นการป้องกันได้ กฎหมายฉบับนี้ใช้คำว่า “ฆ่า” ในกรณีที่มีความจำเป็น จึงต้อง
พิจารณาเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นหลักว่ากฎหมายนี้มีไว้เพื่อป้องกันการทารุณกรรมต่อสัตว์ หากเราไม่มีเจตนา
ทารุณกรรมตั้งแต่ต้นก็จะไม่เข้าองค์ประกอบ ซึ่งจะต้องประกอบกับการนำหลักคิดในเรื่องการกระทำโดยจำเป็น
มาพิจารณา เช่น วิถีทางน้อยที่สุดว่าบุคคลมีทางเลือกแค่ไหนที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำนั้นได้หรือไม่รวมถึงหลัก
ความได้สัดส่วนที่จะต้องกระทำลงไปว่าได้สัดส่วนต่อการกระทำหรือไม่ เช่น หากสุนัขตัวเล็กๆมากัดคน บุคคลนั้น
ก็ควรหาวิธีที่จะป้องปรามอย่างไรให้ได้สัดส่วน หากเป็นกรณีของสัตว์ตัวเล็กแล้วคนตอบโต้ด้วยการฆ่าสัตว์นั้น
ให้ตาย ก็ไม่สมควรแก่เหตุ จึงต้องดูพฤติการณ์และเจตนาเป็นหลัก แต่หากพิจารณาว่ากฎหมายอาญาต้องตีความ
โดยเคร่งครัด ก็อาจจะมีปัญหาได้ จึงอาจจะต้องรอคำพิพากษาศาลฎีกาในประเด็นนี้ต่อไป 9
เมื่อนำหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการกระทำที่กฎหมายไม่ถือว่าเป็นความผิด
ไม่ลงโทษ หรือมีเหตุบรรเทาโทษ มาพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า การทำร้ายสัตว์เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์นั้น
จะไม่เข้าองค์ประกอบของการกระทำโดยป้องกันที่ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 68 เนื่องจากมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า “ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้
พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำ
พอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด” ดังนั้นภยันตราย
7
หมารุมกัดเด็กไส้ทะลัก! ความปลอดภัยของคน vs ความเมตตาต่อสัตว์. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ มกราคม 2560,
สืบค้นจาก :http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9600000002217
8 นพดล ปกรณ์นิมิตดี (สัมภาษณ์ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์, 28 มิถุนายน 2560)
9 สาธิต ปรัชญาอริยะกุล. อ้างแล้ว
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557