Page 106 - kpiebook62010
P. 106
99
ที่จะอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญาได้นั้น จะต้องเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำโดยมนุษย์เท่านั้นจึงจะถือว่ามีเจตนาประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้
พฤติกรรมของสัตว์ตามธรรมชาตินั้นไม่อาจถือว่าเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้
อย่างไรก็ตาม การทำร้ายสัตว์ในกรณีดังกล่าว อาจจะอ้างว่าเป็นการกระทำด้วยความจำเป็น
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(2) ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น...(2) เพราะเพื่อ
ให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตราย
นั้นตน ได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตนถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควร ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ” มา
นำมาปรับใช้ได้ โดยถือว่าอันตรายที่เกิดขึ้นจากสัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตามมาตรา 67
ดังกล่าวนั้นซึ่งภยันตรายอันบังคับให้เกิดการกระทำความผิดโดยจำเป็นนี้ไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นภยันตราย
ประเภทใด อาจจะเป็นภยันตรายตามธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมที่อาจจะเป็นอันตรายจากสัตว์ด้วยก็ได้
ส่วนปัญหาว่า การทำร้ายสัตว์อาจอ้างว่าเป็นการกระทำไปโดยลุแก่โทสะอันเป็นเหตุลดโทษได้
หรือไม่นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้าย
แรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมาย
กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” นั้น เห็นได้ชัดเจนว่าการที่อ้างเหตุว่ากระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
ได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพราะมีผู้มาข่มเหง ซึ่งสัตว์ไม่อาจที่จะเป็นผู้ข่มเหงได้ จึงไม่อาจอ้างเรื่องการกระทำ
ความผิดเนื่องจากบันดาลโทสะมาใช้ในกรณีที่ได้รับอันตรายจากสัตว์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความผิดฐาน
กระทำทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควรนี้เป็นความผิดที่ไม่มีเพดานโทษขั้นต่ำ ดังนั้นศาลอาจจะนำเอาเหตุ
จากการที่ผู้กระทำความผิดนั้นทำร้ายสัตว์ด้วยโทสะเนื่องจากตนเองหรือบุคคลที่ใกล้ชิดได้รับอันตรายจากสัตว์นั้น
มาใช้ประกอบในการกำหนดดุลยพินิจในการกำหนดโทษหรือในการรอการลงโทษก็อาจจะกระทำได้
ทั้งนี้ หากกฎหมายจะบัญญัติให้ชัดเจนว่าการทำร้ายสัตว์ตามสมควรแก่กรณีเพื่อป้องกันอันตราย
แก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สินนั้นไม่ถือว่าเป็นการ
ทารุณกรรมสัตว์ ก็น่าจะเป็นผลดีกว่าเพื่อขจัดปัญหาที่จะต้องสงสัยตีความ และเป็นประโยชน์ในการสร้าง
ความชัดเจนให้แก่ประชาชนในการทำความเข้าใจว่า การทำร้ายสัตว์ตามสมควรเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์นั้น
สามารถกระทำได้โดยไม่เป็นความผิดกฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาที่ปรากฎว่าประชาชนส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่า ไม่สามารถ
กระทำการใดๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ที่เป็นอันตรายหรืออาจเข้ามาทำอันตรายได้เลย เพราะจะเป็น
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
นอกจากนี้ การกำหนดไว้ให้ชัดเจนเป็นทางเลือกว่าผู้ได้รับอันตรายจากสัตว์อาจจะเลือกวิธีการ
ทำร้ายหรือฆ่าสัตว์นั้นก็ได้ ยังจะเป็นประโยชน์กว่าในการป้องกันชีวิตของสัตว์ และให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจได้ว่า
การกระทำของคนที่อ้างว่ากระทำไปเพราะป้องกันอันตรายจากสัตว์นั้น กระทำไปพอสมควรแก่เหตุหรือไม่
นอกจากจะฆ่าสัตว์นั้นแล้ว ผู้กระทำพอที่จะใช้วิธีทำร้ายสัตว์อย่างพอสมควรแก่เหตุเพื่อระงับเหตุหรือป้องกัน
ภยันตรายจากสัตว์นั้นได้หรือไม่
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557