Page 108 - kpiebook62010
P. 108
101
ทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความ
ระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้
ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น โดยตามวรรคสองกำหนดให้สิทธิ
เจ้าของสัตว์สามารถไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือ
ยั่วสัตว์นั้นๆ ก็ได้
ดังนั้น หากเป็นกรณีที่บุคคลได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สินจากสัตว์ หากสัตว์นั้นเป็น
สัตว์มีเจ้าของ ก็สามารถใช้สิทธิทั้งการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 377 และการฟ้องคดี
แพ่งต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 แต่ก็ยังมีข้อสังเกตว่า ในทางอาญานั้นอัตราโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 นั้นไม่สูงนัก เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ ส่วนการฟ้องคดีแพ่งนั้น
ก็มีค่าใช้จ่ายทั้งค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความ
จึงเป็นข้อสังเกตว่า ในกรณีที่บุคคลทำร้ายหรือฆ่าสัตว์ที่ก่ออันตรายหรืออาจก่ออันตรายให้แก่
ตนเอง บุคคลที่ใกล้ชิด หรือทรัพย์สินนั้น หรือได้กระทำการนั้นไปด้วยลุแก่โทสะเนื่องจากสัตว์นั้นได้ก่อความ
เสียหายให้แก่ตน ก็จะมีโทษที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้รุนแรงกว่ากรณีของผู้ที่ปล่อยปละละเลยให้สัตว์
ทำอันตรายหรือก่อความเสียหายให้ผู้อื่น ทั้งที่การที่มีผู้ปล่อยปละละเลยหรือไม่ควบคุมสัตว์ดุสัตว์ร้ายนั้นเป็นสาเหตุ
เบื้องต้นที่ทำให้มีการทำร้ายสัตว์ ทั้งเพื่อการป้องกันอันตรายและการระบายโทสะ รวมถึงเกิดเป็นข้อวิพากษ์
วิจารณ์ของสังคมว่า กรณีคนทำร้ายสัตว์มีโทษตามพระราชบัญญัตินี้ แต่คนที่เลี้ยงสัตว์โดยปล่อยปละละเลยและ
ก่อความเสียหายแก่ผู้อื่นกลับไม่ถูกเอาผิดหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย และแม้จะมีการเอาผิดตามกฎหมาย ก็มีโทษ
อาญาที่ไม่สูงนัก หรือถ้าจะให้ดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่ง ก็จะกลายเป็นภาระในทางทางคดีต่อฝ่ายที่ได้รับความ
เสียหาย
นอกจากนี้ ก่อนที่จะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 นั้น มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า โทษสำหรับผู้กระทำการทารุณกรรมสัตว์
นั้นสูงกว่าการกระทำความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเสียอีก ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้
เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 391 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือแม้แต่ในกรณีทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นก็มี
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีเท่ากับกรณีการทารุณกรรมสัตว์ แต่มีโทษปรับต่ำกว่าคือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้ง
จำทั้งปรับ จนถึงกับมีผู้กล่าวว่า “หากถูกสุนัขกัดแล้ว อย่าทำร้ายสุนัข ให้ทำร้ายเจ้าของแทน เพราะโทษ
เบากว่า” ซึ่งแม้ต่อมาจะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ก็เพียงทำให้โทษฐานทำร้าย
ผู้อื่นดังกล่าวมีอัตราโทษปรับเท่ากับการกระทำทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้น
และหากสัตว์ที่ทำอันตรายหรือก่อความเสียหายนั้นเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของ ผู้เสียหายก็ไม่สามารถ
เรียกร้องใดๆ ได้เลย
ปัญหาเรื่องของการที่สัตว์โดยเฉพาะสุนัข ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์บ้านที่ใกล้ชิดมนุษย์นั้น
ทำอันตรายหรือก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญนั้นเป็นปัญหาที่มีอยู่และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ตามการศึกษาของ
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557