Page 107 - kpiebook62010
P. 107

100






                     5.2.3  ปัญหาเกี่ยวกับการขาดมาตรการสำหรับผู้ที่ไม่ดูแลสัตว์ และปล่อยปละ

               ละเลยให้สัตว์ของตนก่ออันตรายให้แก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

                             จากที่ได้ศึกษาพบว่า การกระทำความผิดที่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์นั้น ในหลายกรณีเกิดจาก
               การที่ตัวผู้กระทำ ทรัพย์สิน หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้กระทำนั้นได้รับอันตรายหรือได้รับความเสียหายจากสัตว์ก่อน

               แล้วจึงเกิดบันดาลโทสะบ้าง หรือกระทำการเพื่อตอบโต้ในกรณีที่สัตว์นั้นได้กระทำอันตรายหรือก่อความเสียหาย
               บ้าง ซึ่งทั้งสองกรณีนั้นไม่สามารถอ้างข้อต่อสู้ตามกฎหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อต่อสู้ว่าการกระทำนั้นไม่ถือว่าเป็นการ
               ทารุณกรรมสัตว์ ตามมาตรา 21 (6) หรือการกระทำโดยจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 (2)

               เนื่องจากอันตรายจากสัตว์นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว


                             แต่หากพิจารณากันถึงต้นเหตุของการที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายจากสัตว์นั้น แท้จริงแล้วมา
               จากการที่เจ้าของสัตว์ปล่อยปละละเลยสัตว์เลี้ยงของตนซึ่งเป็นสัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายให้อยู่ในพื้นที่สาธารณะโดยไม่มี
               การควบคุมดูแลหรือป้องกันอันตรายแก่บุคคลอื่น รวมถึงกรณีที่มีผู้ให้การอุปการะสัตว์จรจัด ทำให้สัตว์นั้นมาอาศัย
               อยู่ประจำที่ และเมื่อสัตว์นั้นดุร้ายก็เป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นที่เข้ามาในพื้นที่ที่สัตว์นั้นอยู่ ทั้งที่แท้จริงแล้วพื้นที่นั้น

               ก็เป็นพื้นที่สาธารณะ

                             เมื่อพิจารณาจากประมวลกฎหมายอาญา จะเห็นว่า เดิมนั้นความผิดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ตาม

               ประมวลกฎหมายอาญานั้นมีทั้งสองแง่มุม คือ เอาผิดแก่ผู้ที่กระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับ
               ทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ตามมาตรา 381 และเอาผิดต่อผู้ใดให้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่

               สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นป่วยเจ็บ ชราหรืออ่อนอายุ ตามมาตรา 382 ซึ่งต่อมาความผิดทั้งสองประการนี้ได้
               เกลื่อนกลืนเป็นความผิดตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัตินี้แล้ว เนื่องจากถือเป็นความผิดกรรมเดียว
               ผิดกฎหมายหลายบทจึงต้องลงโทษบทหนักบทเดียวคือตามมาตรา 31 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ
               ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ความผิดตามมาตรา 381 และมาตรา 382 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน

               หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

                             นอกจากการคุ้มครองป้องกันสัตว์จากการกระทำทารุณกรรมแล้ว ในอีกแง่มุมหนึ่ง ประมวล

               กฎหมายอาญายังกำหนดความผิดและโทษสำหรับผู้ควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ที่ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้น
               เที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ไว้ตามมาตรา 377ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

               หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงกรณีผู้ไล่ ต้อน หรือทำให้สัตว์ใดๆ เข้าในสวน ไร่
               หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
               หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา 394 และผู้ควบคุมสัตว์ที่ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเข้าในสวน ไร่หรือ
               นาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

               ตามมาตรา 395

                             ทั้งนี้ หากสัตว์ที่ไปทำอันตรายหรือความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นเป็นสัตว์มีเจ้าของ เจ้าของสัตว์

               ดังกล่าวก็ต้องรับผิดในทางละเมิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 ที่บัญญัติว่า ถ้าความ
               เสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหม









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112