Page 112 - kpiebook62010
P. 112

105






               ผู้เพาะเลี้ยง ร้านค้าสัตว์เลี้ยง สวนสัตว์ หรือแม้แต่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ของทางราชการก็ต้องถือเป็นเจ้าของสัตว์ด้วย

               โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้เลี้ยงสัตว์ตามบ้านเท่านั้น 16

                             เช่นเดียวกับความเห็นของ สาธิต ปรัชญาอริยะกุล นิติกรสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์

               ที่เห็นว่าเรื่องความเป็นเจ้าของสัตว์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเหตุที่สัตว์ทำอันตรายหรือก่อความเสียหายจากคน
               มักเกิดจากสัตว์จรจัดที่ไม่มีเจ้าของ หรือเมื่อเหตุเกิดแล้วก็จะหาตัวเจ้าของผู้รับผิดชอบไม่ได้ จึงมีคนส่วนหนึ่งเห็นว่า

               กฎหมายนี้ไม่ยุติธรรม ดังนั้นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นในอนาคต คือการขึ้นทะเบียนสัตว์ การฝังไมโครชิปเพื่อแสดงความเป็น
               เจ้าของสัตว์ และเกี่ยวกับการจัดการกับผู้นำสัตว์มาปล่อย ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย 17


                             ปัจจุบัน นอกจากจะมีพระราชบัญญัติว่าด้วยสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 แล้ว ก็ยังมีกฎหมายระดับ
               ท้องถิ่นกำหนดให้ต้องขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงคือสุนัข ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง การควบคุมการเลี้ยง
               หรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 แต่ยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้จดทะเบียนสัตว์หรือผู้เลี้ยงสัตว์เป็นการทั่วไป


                     5.2.5  ปัญหาเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย

                     
       “พนักงานเจ้าหน้าที่” ผู้มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการและบังคับการตามกฎหมายฉบับนี้ มาจาก

               การแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
               เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
               พ.ศ. 2557 แต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยแต่งตั้งให้อธิบดีกรมปศุสัตว์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และ
               ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นข้าราชการ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม

               พระราชบัญญัตินี้

                             โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

               ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 มีอำนาจหน้าที่หลักอยู่ในมาตรา 25 ถึงมาตรา 29 ดังนี้


                             อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 25 ได้แก่

                             (1) มีหนังสือเรียกเจ้าของสัตว์ ผู้แทนองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ ผู้ดูแลสถานสงเคราะห์สัตว์ หรือ

               ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ
               ตามพระราชบัญญัตินี้


                             (2) เข้าไปในสถานที่ใดๆ เพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อได้รับแจ้งหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามี
               การทารุณกรรมสัตว์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยการเข้าไปในสถานที่เพื่อทำการตรวจค้นต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุ
               อันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน หรือทำลายหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ

               การกระทำความผิด ให้ดำเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
               ความอาญาว่าด้วยการค้น


                     16   เกียรติยศ โรเยอร์ โลหนันทน์ อ้างแล้ว
               
     17   สาธิต ปรัชญาอริยะกุล อ้างแล้ว








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117