Page 113 - kpiebook62010
P. 113
106
(3) สั่งให้หยุดซึ่งยานพาหนะเพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อได้รับแจ้งหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
มีการทารุณกรรมสัตว์ตามพระราชบัญญัตินี้
(4) ยึดหรืออายัดสัตว์หรือซากของสัตว์ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าถูกฆ่าหรือถูกทารุณกรรม
รวมทั้งเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
(5) นำสัตว์ที่ถูกทารุณกรรมไปตรวจรักษาหรือช่วยเหลือสัตว์ที่ตกอยู่ในภยันตราย ในกรณี
ที่ปรากฏว่าสัตว์นั้นไม่มีผู้ใดให้การรักษาหรือช่วยเหลือ
นอกจากนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจในการดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ในกรณีที่พบสัตว์
ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ ตามมาตรา 26 มีอำนาจสั่งให้ฆ่าสัตว์ในกรณีที่พบสัตว์ตกอยู่ในสภาพที่ทุกข์
ทรมานจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บสาหัสและสัตวแพทย์เห็นว่าการให้สัตว์มีชีวิตอยู่ต่อไปจะได้รับความทุกข์
ทรมานจนเกินสมควร ตามมาตรา 27 ซึ่งในการฆ่าสัตว์ตามมาตรานี้ จะต้องดำเนินการโดยสัตวแพทย์ และในกรณี
ที่สัตว์นั้นมีเจ้าของต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสัตว์ด้วยและมาตรา 28 กำหนดให้เจ้าของสัตว์หรือ
ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยตามสมควร
ทั้งนี้แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่เอาไว้ แต่เนื่องจากพนักงาน
เจ้าหน้าที่นั้นมีอำนาจทั้งในการใช้อำนาจปฏิบัติการทางปกครอง และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
อย่างไรก็ตาม ก็ยังปรากฎว่ามีปัญหาในเรื่องความพร้อมของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยองค์กรพิทักษ์
สัตว์ และสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ดูแลเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรม
สัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์นั้นเห็นร่วมกันว่ายังเป็นกรณีที่มีปัญหาอยู่
ประการแรก เนื่องจากกรมปศุสัตว์นั้นมีภาระหน้าที่อย่างมากอยู่แล้วในการดูแลปศุสัตว์ แต่
พระราชบัญญัติฉบับนี้ ประกอบกับประกาศของรัฐมนตรีกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ต้องเป็นพนักงาน
เจ้าหน้าที่ ซึ่งมีหน้าที่ครอบคลุมถึงสัตว์ทุกชนิด ซึ่งกรมปศุสัตว์เองก็ยังไม่มีความพร้อมที่จะเป็น “ตำรวจสัตว์”
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งยังทำงานอยู่ตามเวลาราชการ และมีภาระหน้าที่อื่นๆในทางปศุสัตว์อยู่ ในการ
ทำงานของสมาคมพิทักษ์สัตว์จึงกลายเป็นสภาวะที่ว่า แม้จะมีกฎหมายใช้บังคับแล้ว ก็ยังต้องอาศัยความสัมพันธ์ใน
ทางส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจในการร้องขอให้มีการดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งๆที่ควรจะเป็นสิทธิของ
ประชาชนที่จะสามารถร้องขอให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมายได้ รวมถึงปัญหาที่ว่า ในความผิดบางประการที่มี
18
แต่โทษปรับ ผู้มีอำนาจในการเปรียบเทียบปรับก็ได้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ด้วย
ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นเดียวกับกฎหมายอาญาเรื่องอื่นๆ ซึ่งถือเป็นภาระหนึ่งของกรมปศุสัตว์เช่นกัน 19
18 เกียรติยศ โรเยอร์ โลหนันทน์ (อ้างแล้ว)
19 สาธิต ปรัชญาอริยะกุล (อ้างแล้ว)
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557