Page 116 - kpiebook62010
P. 116

109






               6.1 บทสรุป



                     สถานะของสัตว์ในความรับรู้ของมนุษย์มีการพัฒนาตลอดมา จากที่สัตว์เป็นทรัพย์สินของมนุษย์หรือ
               เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ก็ได้รับการพัฒนาโดยยอมรับในความเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกรับรู้ถึงความเจ็บปวดได้
               แม้สถานะในทางกฎหมายสัตว์บางส่วนอาจถือเป็นทรัพย์สิน ซึ่งมนุษย์อาจจะใช้ประโยชน์จากสัตว์ในกรณีต่างๆ ได้

               แต่การใช้ประโยชน์ต่อสัตว์ดังกล่าวนั้นก็จะต้องอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมบางประการ ที่แม้เรื่องสิทธิของสัตว์นั้น
               ยังเป็นประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่ได้ต่อไป แต่ในแนวคิดที่ถือเป็นอารยะของมนุษย์นั้นก็ยอมรับว่ามนุษย์มีหน้าที่
               ที่จะต้องจัดสวัสดิภาพให้สัตว์ตามสมควรแก่การดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นไปโดยธรรมชาติตามสมควร

               แห่งเผ่าพันธุ์ รวมถึงมนุษย์ไม่ควรที่จะกระทำการทารุณกรรมต่อสัตว์ ซึ่งอาจถือเป็นหน้าที่ทางจริยธรรมจรรยา
               ประการหนึ่ง


                     แม้ว่าจะยังไม่มีข้อตกลงระดับนานาชาติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์หรือสิทธิของสัตว์อย่างเป็นทางการ
               แต่ก็มีความพยายามผลักดันให้เกิดข้อตกลงเพื่อการดังกล่าวจากบุคคลและองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิหรือสวัสดิภาพ
               ของสัตว์อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในระดับภาคพื้นทวีป สหภาพยุโรปก็ได้มีข้อตกลงต่างๆ เกี่ยวกับ

               การปฏิบัติต่อสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ใช้บังคับแก่สมาชิกในสมาชิกของสหภาพยุโรปอยู่หลายฉบับ ส่วนใน
               กฎหมายภายใน ก็ปรากฏว่ามีรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอินเดีย ให้การ
               ยอมรับว่ามนุษย์มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสัตว์ซึ่งองค์ประกอบหนึ่งของสิ่งแวดล้อมด้วย และมีบทบัญญัติ

               กฎหมายเพื่อป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่เหมาะสมและมีรายละเอียดที่สมบูรณ์
               บังคับใช้อยู่ในประเทศเหล่านั้น รวมถึงประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศทั่วโลก


                     สำหรับประเทศไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกนั้น ก็ได้รับอิทธิพลของการรับรองในเรื่องสวัสดิภาพ
               สัตว์และการห้ามการทารุณกรรมต่อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องการฆ่าสุนัขเพื่อกินเนื้อ แรงผลักดัน
               จากประชาคมโลก ทำให้ประเทศไทยริเริ่มที่จะตรากฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัด

               สวัสดิภาพสัตว์มาตั้งแต่ปี 2547 โดยก่อนหน้านี้ กฎหมายไทยอาจจะมองว่าสัตว์เป็นทรัพย์สินหรือทรัพยากร
               ธรรมชาติอย่างหนึ่งหรือหากจะมีกฎหมายคุ้มครองก็เป็นไปเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยทางศีลธรรมของ
               ประชาชนมากกว่า แต่ไม่ใช่การคุ้มครองสัตว์โดยถือว่าสัตว์นั้นมีสิทธิหรือมีสวัสดิภาพที่มนุษย์พึงจะต้องดูแล

               แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ได้เปลี่ยนแปลง
               มุมมองสำคัญเกี่ยวกับสัตว์ในทางกฎหมายของไทย โดยคุ้มครองสัตว์ในฐานะที่สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก
               ควรได้รับการจัดสวัสดิภาพ และไม่สมควรที่จะถูกทารุณกรรม โดยไม่คำนึงว่าสัตว์นั้นจะมีเจ้าของหรือไม่

               ซึ่งเป็นการคุ้มครองสัตว์ที่เลยพ้นจากมุมมองของการมองว่าสัตว์เป็นวัตถุ ทรัพย์สิน หรือทรัพยากรธรรมชาติ

                     อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวก็ยังมีลักษณะเป็นเหมือนกฎหมายที่กำหนดหลักการกว้างๆ เอาไว้ และตั้ง

               องค์กรหรือกำหนดหน่วยงานเพื่อเป็นเจ้าภาพในการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ แต่ยัง
               ขาดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายลำดับรอง ซึ่งยังมีปัญหา
               ในกระบวนการยกร่างจึงยังไม่มีผลใช้บังคับ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ในช่วงที่ผ่านมานั้นขาดมิติของ

               การจัดสวัสดิภาพสัตว์ นอกจากนี้ การที่กฎหมายบัญญัติห้ามการทารุณกรรมสัตว์ไว้กว้างๆ ก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121