Page 20 - kpiebook62010
P. 20

13






               ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเช่นสัตว์มีเจ้าของ  และในทางกลับกันสำหรับสัตว์มีเจ้าของ เจ้าของจะกระทำการใดๆ
                                                  14
               แม้แต่ทารุณกรรมกับสัตว์ของตนก็ได้ เนื่องจากถือว่าเป็นทรัพย์สินของตน สัตว์ในสายตาของกฎหมายจึงอยู่ใน
               ฐานะที่ไม่ได้แตกต่างไปกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำสวนทำไร่ของคนนั้นเอง 15


                     2.2.2  สัตว์ในฐานะเป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามหลักจริยธรรม

                             อย่างไรก็ตาม แม้มุมมองในทางกฎหมายของมนุษย์ในเบื้องแรกนั้นจะมองสัตว์ว่าเป็นทรัพย์สิน
               อย่างหนึ่งที่มนุษย์มีกรรมสิทธิ์ และจะใช้สอยสัตว์นั้นอย่างไรก็ได้ ก็มีแนวคิดในทางจริยธรรมที่ป้องปรามไม่ให้มนุษย์

               นั้นต้องปฏิบัติต่อสัตว์แตกต่างไปจากทรัพย์สินทั่วไป กล่าวคือแม้ว่าสัตว์จะเป็นทรัพย์สินของมนุษย์ แต่สัตว์ก็ถือเป็น
               สิ่งมีชีวิต ที่มนุษย์ไม่ควรที่จะปฏิบัติต่อสัตว์อย่างทารุณโหดร้าย


                             ในยุคแรกนี้เองที่เกิดกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ขึ้น โดยกฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์
               ในระยะแรกได้ให้ความสำคัญในเรื่องการควบคุมจริยธรรมและศีลธรรมอันดีของประชาชนควบคู่ไปกับการคุ้มครอง
               ประชาชนจากพฤติกรรมป่าเถื่อนโหดร้ายและไม่มีวัฒนธรรมเป็นสำคัญ เมื่อสังคมของมนุษย์พัฒนาขึ้น มีความ

               เจริญมากขึ้น สังคมมนุษย์เริ่มมีความเห็นว่าการทารุณสัตว์ส่งผลกระทบต่อสังคมในลักษณะของการทำให้
               ภาพลักษณ์ของสังคมถูกมองในแง่ลบ เป็นสังคมไม่มีศีลธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะในสังคมที่มีการทารุณสัตว์อย่าง
               กว้างขวาง จึงได้มีการกำหนดบทบัญญัติขึ้นมาบังคับใช้ในสังคมของตน
                                                                       16

                             การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ตามแนวคิดนี้จึงเป็นไปเพื่อการรักษาระดับศีลธรรม คุณธรรม
               จริยธรรมในจิตใจของมนุษย์เอง เพื่อการเป็นอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะมีการศึกษาพบว่า การทารุณสัตว์จะมีผลต่อ

               การสร้างนิสัยก้าวร้าว รุนแรง เป็นการปลูกฝังพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่มีศีลธรรมแก่ผู้กระทำ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้กระทำ
               มีแนวโน้มทำร้ายผู้อื่นหรือก่ออาชญากรรม เช่น Mark R. Dadds, Cynthia M. Turner and John McAloon
               (2002) วิจัยถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างการทารุณสัตว์และการละเมิดหรือรุกรานต่อมนุษย์ พบว่า

                                                                                  17
               ผู้ที่เคยทารุณสัตว์มีแนวโน้มจะทำร้ายหรือรุกรานมนุษย์มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทารุณสัตว์  และยังมีผลกระทบต่อสังคม
               หรือชุมชนด้วย ปรากฎตามรายงานของ FBI ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ประวัติการกระทำทารุณสัตว์เป็นอุปนิสัย
               ที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอในบันทึกทางคดี การศึกษาทางจิตวิทยาของ Roman Gleyzer และคณะ (2002)

               ได้ข้อสรุปว่า การแสดงออกของการทารุณสัตว์สัมพันธ์กับการก่อการทารุณหรือละเมิดต่อบุคคลอื่น และ
               มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม 18


               
     14   ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ. อ้างแล้ว. หน้า 93
               
     15   Paige M. Tomaselli. International Comparative Animal Cruelty Laws. อ้างถึงใน ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ.
               อ้างแล้ว. หน้า 94

               
     16   สุพรรณิการ์ กิ่งทอง. มาตรการป้องกันและปราบปรามการทารุณกรรมสัตว์ กรณีศึกษาการค้าสุนัขข้ามชาติ. วารสาร
               นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม 2558). หน้า 34

               
     17   Frank R. Ascione. (2001). Animal Abuse and Youth Violence. Juvenile Justice Bulletin. (Washington,
               Dc:Office of Juvenile Justice). P 7-9. อ้างถึงใน สุพรรณิการ์ กิ่งทอง. อ้างแล้ว. หน้า 33
               
     18   Roman Gleyzer, Alan R. Felthous and Charles E. Holzer. (2002). “Animal Cruelty and Psychiatic
               Disorder,”. The Journal of the Academy of Psychiatry and the Law. 30.(2). P 263. อ้างถึงใน สุพรรณิการ์ กิ่งทอง.
               อ้างแล้ว. หน้า 33-34






                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25