Page 37 - kpiebook62016
P. 37

20







                       เป็นต้น และปรากฏการณ์หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1989 น ามาสู่กระแสการ
                       หันหน้าสู่ประชาธิปไตยในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกหลังปี ค.ศ. 1991 รวมไปถึงการเคลื่อนไหว

                       ของประชาชนที่น าไปสู่การเจรจาเพื่อสร้างประชาธิปไตย เช่น ในเกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นต้น อย่างไร

                       ก็ดี ปัจจัยของคลื่นลูกที่สามมีลักษณะผสมผสาน ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอิทธิพล

                       ของการเมืองระหว่างประเทศ ความซับซ้อนสับสนดังกล่าวท าให้คลื่นลูกที่สามกลายเป็นพื้นที่ส าคัญใน

                       การตั้งค าถาม และตอบปัญหาวิจัยของนักวิชาการด้านการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย

                              ในปัจจุบัน มีบางความเห็นเสนอว่า โลกได้เข้าสู่ “คลื่นลูกที่สี่” (The  fourth  wave) ที่การ

                       เปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยมีลักษณะแตกต่างจากคลื่นลูกที่สามอย่างชัดเจน เช่น งานของ Michael

                             46
                       McFaul  เห็นว่าประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต มีลักษณะเฉพาะของคลื่นลูกที่สี่ตรงที่
                       กระบวนการสร้างประชาธิปไตยถูกจ ากัดในด้านทางเลือกเชิงนโยบายและการจัดสรรอ านาจที่กระจุก
                       ตัวไม่เป็นไปอย่างเสรี รวมถึงอิทธิพลจากภายนอกอย่างรัสเซียท าให้การพัฒนาประชาธิปไตยมี

                                             47
                       ข้อจ ากัด Larry  Diamond  เสนอมุมมองว่าความตื่นตัวของประชาชนในประเทศตะวันออกกลางใน
                       ปรากฏการณ์ “the  Arab  Spring”  เช่น อียิปต์ และตูนิเซีย จะกลายเป็นชนวนส าคัญต่อกระบวนการ

                       เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ แต่การแช่แข็งอย่างรวดเร็วของปรากฏการณ์ดังกล่าว ท าให้

                       แนวคิดคลื่นลูกที่สี่ ไม่ได้รับการตอบสนองนัก

                              ผู้เขียนสมาทานแนวคิดคลื่นลูกที่สามของ Huntington  ด้วยมองว่าการท าความเข้าใจ

                       ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก คือ โปรตุเกส สเปน และกรีซ มาถึงยุโรปตะวันออกต่อเนื่อง

                       มาถึงอาหรับสปริง ในฐานะคลื่นลูกเดียวกันแทนที่จะแตกตัวเป็นคลื่นลูกที่สี่ จะช่วยให้เราได้

                       เปรียบเทียบการปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยทั้งในมิติช่วงเวลาและพื้นที่ ประเด็นมิติเวลาที่ค่อนข้าง
                       ยาวนาน กล่าวคือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1974 ถึงปัจจุบัน และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่กว่า

                       กระบวนการประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่หนึ่งและที่สอง นั่นคือรวมอาณาบริเวณกว้างใหญ่ทั้งทวีปเอเชีย

                       อเมริกาใต้ แอฟริกา และยุโรปตะวันออก น ามาสู่ค าถามที่น่าสนใจ เช่น โจทย์ที่ว่า สาเหตุหรือปัจจัยใด



                       46  Michael McFaul, "The Fourth Wave of Democracy and Dictatorship: Noncooperative Transitions in the Postcommunist
                       World," World Politics vol. 54, no. 2 (2002): 212-244.
                       47  Larry Diamond (2011), “A Fourth Wave or False Start? Democracy after the Arab Spring” Middle East Democratization
                       [online],  November  13,  2014, Available  from  https://www.foreignaffairs.com/articles/middle-east/2011-05-22/%20fourth-
                       wave-or-false-start.
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42