Page 101 - kpiebook65010
P. 101
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
เป็นตัวอย่างของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมอาจพิจารณาได้จากการวิเคราะห์ผลกระทบ
เฉพาะด้านแทนที่จะพยายามทำความเข้าใจและพิจารณาแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ
ทางสังคมในภาพรวม
ในหัวข้อนี้จะนำเสนอตัวอย่างการประเมินผลกระทบเฉพาะด้านที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของ
การประเมินผลกระทบทางสังคมเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่ากลุ่มประเทศ EU และ OECD
ได้มีการกำหนดการประเมินผลกระทบเฉพาะด้านหรือไม่ และหากมีจะมีแนวทางและวิธีการ
วิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้านนั้นอย่างไร โดยจะนำเสนอตัวอย่างแนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบด้านความเท่าเทียมทางเพศ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพ ตามลำดับ
3.7.1 ด้านความเท่าเทียมทางเพศ
(gender equality impact assessment: GIA)
ประเด็นด้านความเท่าเทียมทางเพศถือเป็นประเด็นทางนโยบายที่สำคัญของ EU ดังนั้น
จึงทำให้มีการกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบด้านนี้เอาไว้อย่างละเอียด โดยในที่นี้
จะพิจารณาแนวทางดำเนินการที่สถาบันส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศของสหภาพยุโรป
(European Institute for Gender Equality) เป็นผู้กำหนดแนวทางเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับ
แนวทางการทำ RIA ของคณะกรรมาธิการยุโรปในฐานะองค์กรที่อยู่ภายใต้องค์กรรวมกลุ่มระดับ
เหนือรัฐเดียวกัน รวมทั้งการประเมิน GIA ของ EU มีฐานที่มาที่ชัดเจน นอกจากนี้ กฎหมายและ
นโยบายของประเทศสมาชิกมักมีกฎหมายรองรับการป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติเพราะ
เหตุผลทางเพศสนับสนุน การทำ GIA ตามแนวทางของ EU จึงเป็นแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้
จริงในทางปฏิบัติและถือเป็นจุดเริ่มต้นของทำให้เกิดนโยบายที่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ
136
หัวข้อนี้จะเสนอแนวคิดการทำ GIA ใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย การพิจารณาความหมาย
แนวทาง และวิธีการการทำ GIA
3.7.1.1 ความหมาย
ในคู่มือการทำ GIA ของ European Institute for Gender Equality ได้ให้
คำจำกัดความของ Gender Impact Assessment เอาไว้ว่า หมายถึง การประเมินหรือวิเคราะห์
ผลกระทบล่วงหน้าก่อนที่จะมีการตรากฎหมายหรือใช้นโยบายหรือแผนงานเพื่อระบุและป้องกัน
ไม่ให้เกิดกระบวนการตัดสินใจที่เกิดผลกระทบในทางลบต่อความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
136 European Institute for Gender Equality, Gender Impact Assessment: Gender Mainstreaming
Toolkit (European Institute for Gender Equality 2016) 9.
สถาบันพระปกเกล้า
89