Page 97 - kpiebook65010
P. 97

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                ขั้นตอนที่                            การดำเนินการ

                  3    เลือกว่าจะทำการวิเคราะห์แบบดุลภาพบางส่วนหรือแบบดุลภาพทั่วไป (partial or general equilibrium
                       analysis)*
                       การเลือกแนวทางวิเคราะห์จะขึ้นอยู่กับขนาดของผลกระทบ ซึ่งจำเป็นต้องตัดสินใจเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการที่เกิน
                       จำเป็น (เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น) โดยอาจพิจารณาจากการตั้งคำถามดังต่อไปนี้
                       ๏ ปัญหาที่จะทำการวิเคราะห์ส่งผลกระทบต่อหลายตลาดหรือเพียงตลาดเดียว และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
                         และผลกระทบสะสมใช่หรือไม่
                       ๏ ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจใช่หรือไม่
                       หากคำตอบต่อทั้งสองคำถามคือใช่ ในกรณีนี้ควรต้องทำการวิเคราะห์แบบดุลภาพทั่วไปแต่หากปรากฏว่าผลกระทบ
                       ที่จะเกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบเพียงไม่กี่ตลาดหรือบางภาคเศรษฐกิจและส่งผลกระทบส่วนใหญ่ในรูปของผลกระทบทาง
                       ตรงต่อผู้มีส่วนได้เสียหรือก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อมหรือผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคอย่างจำกัด เช่นนี้สามารถ
                       ทำการวิเคราะห์แบบดุลภาพบางส่วนได้

                  4    คำนวณต้นทุนโดยตรงที่เกิดขึ้นโดยตีมูลค่าเป็นเงิน (monetize direct costs) โดยคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
                       ๏ ค่าใช้จ่ายโดยตรง (direct charges) ตกแก่ผู้มีส่วนได้เสียหรือกลุ่มทางสังคมบางกลุ่มหรือไม่
                       ๏ ต้นทุนการปฏิบัติตามมาตรการ (compliance costs) ที่เพิ่มขึ้นรวมถึงภาระที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎเกณฑ์
                         (administrative burdens) หรือไม่
                       ๏ มีต้นทุนการบังคับการให้เป็นไปตามมาตรการ (enforcement costs) ใดเกิดขึ้นบ้างหรือไม่
                  5    คำนวณผลประโยชน์โดยตรงที่เกิดขึ้นโดยตีมูลค่าเป็นเงิน (monetize direct benefits)
                          โดยคำนึงถึงว่ามีการลดลงของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามกฎหมาย (regulatory charges)
                       บังคับการตามกฎหมาย (enforcement costs) หรือปฏิบัติตามกฎหมาย (compliance costs) บ้างหรือไม่
                          นอกจากนี้ควรมีการคำนวณมูลค่าของประสิทธิภาพของตลาดที่เพิ่มขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้ (เช่นมูลค่าของ ส่วนเพิ่ม
                       ผู้บริโภค (consumer surplus) ส่วนเพิ่มผู้ผลิต (producer surplus) และการสูญเสียที่ตกแก่ส่วนรวมจากกลไก
                       ที่ขาดประสิทธิภาพ (deadweight loss) รวมทั้งประเมินมูลค่าของ non-market benefit เช่น มูลค่าเพิ่มด้าน
                       สุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

                  6    การประเมินผลกระทบทางอ้อม โดยพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้
                       ๏ มีต้นทุนทางอ้อมที่มีนัยสำคัญใดเกิดขึ้นหรือไม่
                       ๏ มีประโยชน์ทางอ้อมใดที่เกิดขึ้นหรือไม่
                       ๏ มีผลประโยชน์ที่ไม่สามารถคำนวณมูลค่าใดเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ความแน่นอนของ
                         สถานะทางกฎหมาย การลดลงของการฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นต้น
                  7    ทำการพิจารณาว่าต้นทุนและผลประโยชน์ทั้งหลายที่มีการวิเคราะห์ไปนั้นเกิดขึ้นในช่วงใดของการดำเนินนโยบาย
                       หรือกฎหมายโดยคำนึงถึงการแปลงอัตราคิดลดของสังคม (social discounting) เพื่อกำหนดมูลค่าสุทธิในปัจจุบัน





                     *  ความแตกต่างของลักษณะการวิเคราะห์ทั้งสองประเภทอยู่ที่ขอบเขตของตลาด (market) และปัจจัยที่
               เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์โดยการวิเคราะแบบดุลภาพบางส่วนมีขอบแขตการวิเคราะห์ที่แคบและเจาะจงกว่า รายละเอียด
               การอธิบายการวิเคราะห์แบบดุลภาพบางส่วนและดุลภาพทั่วไปดูเพิ่มเติมที่ Michael R. Thomsen, ‘Partial vs.
               General Equilibrium Models’ <https://socialsci.libretexts.org/Bookshelves/Economics/Book%3A_
               An_Interactive_Text_for_Food_and_Agricult ural_Marketing_(Thomsen)/04%3A_Market_Equilibrium_
               and_Equilibrium_Modeling/4.04%3A_Section_4-> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     85
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102