Page 98 - kpiebook65010
P. 98

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                ขั้นตอนที่                            การดำเนินการ

                  8    นำเสนอผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกลไกที่มีในปัจจุบันกับทางเลือกต่าง ๆ
                       ๏ นำเสนอต้นทุนและผลประโยชน์ของแต่ละทางเลือกที่ได้ทำการประเมินมูลค่าแล้ว
                       ๏ นำเสนอบรรดาข้อมูลเชิงคุณภาพของต้นทุนและผลประโยชน์ที่ไม่สามารถตีมูลค่าได้
                       ๏ เปรียบเทียบผลกระทบทางเลือกต่าง ๆ โดยอาจนำเสนอในหลายรูปแบบและหลายเกณฑ์การจำแนก รวมทั้ง
                         นำเสนอผลประโยชน์สุทธิ คุณค่าสุทธิ ณ เวลาประเมิน (net present value) และผลกระทบที่กระจายไปยัง
                         กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (distributional impacts on stakeholders)

                  9    ตรวจสอบความแน่นอนและน่าเชื่อถือของผลวิเคราะห์ โดยอาจพิจารณาจาก
                       ๏ ความถูกต้องและความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ เช่น สมมติฐาน และข้อสรุป
                       ๏ ตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ การนับ การคำนวณที่ดำเนินการในกระบวนการวิเคราะห์
                       ๏ ยอมรับถึงความเป็นไปได้ในอคติด้านพฤติกรรม (behavioral biases)
                       ๏ ตรวจสอบการเชื่อมโยงองค์ประกอบของการวิเคราะห์ เช่น เกณฑ์พิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์
                         ความสอดคล้องระหว่างการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์และการลดลงของต้นทุน

                  10   พิจารณาและยอมรับผลกระทบเล็กน้อย ผลกระทบสะสมหรือผลกระทบที่กระจาย (distributional and
                       cumulative impacts) ไปยังกลุ่มต่าง ๆ หรือไปยังคนในอนาคต หรือไปยัง SMEs


               3.5.3  การวิเคราะห์แบบ Cost- effectiveness analysis (CEA)


                      การวิเคราะห์ทางเลือกในการทำ RIA แบบ CEA เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิผลของ
               ต้นทุนว่าต้นทุนดำเนินการของทางเลือกต่าง ๆ เพื่อหาทางเลือกที่ต้นทุนการดำเนินการก่อให้เกิด

               ผลประโยชน์มากที่สุด โดยพิจารณาว่าต้นทุนดำเนินการที่สังคมต้องแบกรับจำนวน 1 หน่วย (เช่น
               1 ดอลลาร์สหรัฐ) จะทำให้เกิดประโยชน์ในแง่การบริหารจัดการอย่างไรบ้างและทางเลือกใดที่ก่อ

               ผลประโยชน์สูงสุด

                      CEA ใช้เทคนิคการคำนวณแบบเทียบอัตราส่วนต้นทุนต่อผลประโยชน์ (benefit/cost
               ratio) โดยหาผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากต้นทุนดำเนินการ 1 หน่วย โดยตัวอย่างการกำหนด

               โจทย์ที่ต้องวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมโดยอาศัยวิธีการนี้ก็เช่น “เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐที่จ่ายไป
               จะสร้างงานให้สังคมกี่ตำแหน่ง?” และ “เงิน 1 ยูโร ที่จ่ายไปเพื่อดำเนินการทางเลือกนี้จะสามารถ
               ทำให้กี่ชีวิตปลอดภัย?”  เป็นต้น
                                  127

                      หากพิจารณาเทียบกับวิธีวิเคราะห์แบบ CBA แล้ว จะเห็นความแตกต่างคือ CBA
               คำนวณหาผลประโยชน์สุทธิ (net benefits) โดยนำผลประโยชน์ที่มีการตีมูลค่าเป็นตัวเงินหักลบ

               ด้วยต้นทุน (ที่เป็นตัวเงิน) ในขณะที่ CEA ไม่จำเป็นต้องตีมูลค่าผลประโยชน์เป็นตัวเงิน (แต่ต้อง
               ประเมินค่าเป็นตัวเลขที่วัดได้ชัดเจน) และหาผลประโยชน์ที่เกิดจากต้นทุน (ซึ่งมักวัดเป็นหน่วยเงิน)




                    127   European Commission, ‘Better Regulation Toolbox’ (n 35) 452-453.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     86
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103