Page 100 - kpiebook65010
P. 100
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.6 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการวิเคราะห์
ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าไม่มีเทคนิคการวิเคราะห์ใดที่สามารถใช้วิเคราะห์ทางเลือกและ
ผลกระทบได้ทั้งหมดโดยจะต้องกำหนดเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะและระดับของผลกระทบและ
ทางเลือก โดยในส่วนท้ายของหัวข้อนี้จะสรุปข้อพิจารณาสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเทคนิค
การวิเคราะห์อีกครั้งหลังจากที่ได้กล่าวถึงตัวอย่างเทคนิคการวิเคราะห์ โดยข้อพิจารณาสำคัญ ๆ
ประกอบด้วย
๏ ผู้ที่รับผิดชอบในการทำ RIA ควรให้ความสำคัญกับการระบุผลกระทบทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมจากทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาอันเป็นที่มาของการกำหนด
ทางเลือกทางนโยบายมากกว่าที่จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์ตัวเลขโดยคำนวนหาความคุ้มได้
คุ้มเสียตามวิธีการ CBA แต่เพียงอย่างเดียว
๏ นอกเหนือจากการหาผลประโยชน์และต้นทุนจากการใช้ทางเลือกแล้ว การทำ RIA
ควรพิจารณาด้วยว่าในแต่ละทางเลือกมีทางเลือกย่อย ๆ อีกหรือไม่
๏ นอกเหนือจากการกำหนดวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมแล้ว การทำ RIA ที่ดีควรคำนึงถึง
ประเด็นเรื่องพฤติกรรมของผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่จะมีการกำหนดขึ้นด้วย
ว่าเขาเหล่านั้นจะมีความสมัครใจที่จะปฏิบัติตามมากน้อยเพียงใดโดยให้ความสำคัญกับ
การกำหนดมาตรการที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่ายด้วย 134
๏ ในการวิเคราะห์ผลกระทบในด้านต่าง ๆ นั้น ต้องยอมรับและแสดงให้ชัดหากมีปัจจัย
ความไม่แน่นอนใดที่อาจมีผลต่อผลของการวิเคราะห์ 135
3.7 ตัวอย่างการประเมินผลกระทบเฉพาะด้าน
ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อน ๆ แล้วว่าปัจจุบันเอกสารคำแนะนำของ EU และ OECD ไม่ได้
กำหนดกรอบแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม (social impact) เอาไว้ หากแต่มี
การกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบผลกระทบแต่ละด้านแยกย่อยออกไปอีก ดังนั้น
การทำความเข้าใจแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบที่จะทำให้เห็นภาพชัดเจนและ
134 ibid 100.
135 European Commission, ‘Better Regulation Toolbox’ (n 35) 455-456.
สถาบันพระปกเกล้า
88