Page 141 - kpiebook65010
P. 141
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ต้นทุนในภาคเอกชน ควรคำนวนตามต้นทุนค่าเสียโอกาสและนำมารวมไว้
เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินด้วย ค่าที่คำนวณได้ในส่วนนี้จะมีความสำคัญอย่างมากในกรณีที่
การออกกฎระเบียบนั้นจะมีต้นทุนส่วนใหญ่ตกอยู่กับภาคเอกชน ทั้งนี้ ราคาและต้นทุนไม่ว่าในส่วน
ของภาครัฐหรือเอกชนจะต้องมีการพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบกันอยู่เสมอ
การจำแนกต้นทุนออกเป็นต้นทุนคงที่ (fixed costs) และต้นทุนผันแปร
(variable costs) จะสามารถช่วยให้การวิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis) เนื่องจาก
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับต้นทุนในรายการหนึ่ง อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในรายการอื่น ๆ
ดังนั้น ควรได้มีการพิจารณาต้นทุนและปัจจัยขับเคลื่อนต้นทุนในแต่ละรายการให้เกิดความเข้าใจ
อย่างถ่องแท้ รวมถึงการกำหนดรายการของข้อสมมติฐานที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในรายการหนึ่ง
ไว้ให้ชัดเจนด้วย
ส่วนของต้นทุนทางการเงินของภาครัฐ คิดจากค่าประมาณการของ
ทรัพยากรและทุนที่ต้องใช้ไปตลอดเวลาที่ต้องดำเนินการตามข้อเสนอนั้น โดยการคำนวณให้เป็นไป
ตามมาตรฐานทางบัญชีที่กำหนดโดย Office of National Statistics โดยรายจ่ายใหม่ที่เกิดขึ้น
จากข้อเสนอนั้นจะต้องมีเนื้อหาที่สำคัญ 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เนื้อความใน 3 ส่วนนี้เอง
ที่จะถูกนำไปคำนวณในฐานะต้นทุนทางการเงินในภาครัฐเพื่อหาค่า NPSV ต่อไป ได้แก่
(1) งบประมาณ (budget) ตามหลักการทางบัญชีที่กำหนดไว้ใน
Consolidated Budgeting Guidance เนื้อความในส่วนนี้
209
จะแสดงให้เห็นถึงต้นทุนที่เป็นทรัพยากรและทุนที่ต้องใช้ตลอดระยะ
เวลาที่ดำเนินการตามมาตรการในข้อเสนอนั้น สำหรับมาตรการ
ที่เป็นการริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ รายการงบประมาณมักมีการระบุถึง
ตัวเลขคาดการณ์เกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินขององค์กรที่เกี่ยวข้อง
ทั้งหมดในช่วงเวลาหลายปีข้าหน้าด้วย
(2) กระแสเงินสด (cashflow) เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงต้นทุน
ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากเลือกใช้มาตรการที่คาดว่าจะเป็นทางเลือกนั้น
209 ตัวอย่างรายงานฉบับล่าสุดดู HM Treasury, ‘Consolidated budgeting guidance 2021 to 2022’
<www.gov.uk/government/publications/consolidated-budgeting-guidance-2021-to-2022> เข้าถึงเมื่อ
9 กันยายน 2564.
สถาบันพระปกเกล้า
129