Page 140 - kpiebook65010
P. 140

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                            3)  กรอบระยะเวลา (time horizon)     207

                              การคำนวณต้นทุนและผลประโยชน์นั้นจะต้องกระทำให้ครอบคลุมตลอด

               ช่วงระยะเวลาที่ใช้มาตรการแทรกแซงนั้น ซึ่งโดยข้อแนะนำตามคู่มือดำเนินการแล้ว การกำหนด
               กรอบระยะเวลาไว้ที่ 10 ปี จะมีความเหมาะสมสำหรับการดำเนินการตามสมมติฐานที่มีอยู่ใน

               แต่ละมาตรการแทรกแซง แต่สำหรับบางกรณี กรอบระยะเวลาที่เหมาะสมอาจยาวนานกว่านั้นมาก
               เช่น กรณีของการก่อสร้างอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน อาจมีกรอบระยะเวลาที่ 60 ปี เป็นต้น
               ในทุก ๆ กรณี ต้นทุนในการบำรุงรักษาหรือปรับปรุงที่เกี่ยวข้องสินทรัพย์เหล่านี้จะต้องถูกนำมาคิด

               รวมเอาไว้ด้วย

                              สำหรับมาตรการแทรกแซงบางประการ อาจใช้ช่วงเวลาสำหรับ

               การประเมินที่ยาวนานกว่า 60 ปีได้ หากนัยสำคัญของต้นทุนหรือผลประโยชน์ทางสังคมที่เกิดจาก
               มาตรการนั้นจะมีผลกระทบยาวนานกว่า 60 ปี โดยได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจ
               รับรองด้วย ตัวอย่างเช่น การสร้างภูมิคุ้มกัน ระบบการรักษาความปลอดภัยและการจัดเก็บ

               ขยะนิวเคลียร์ หรือมาตรการที่ลดความเสี่ยงอันเกิดจากภาวะโลกร้อน เป็นต้น

                            4)  การประมาณต้นทุน    208


                              ต้นทุนในส่วนที่เป็นทรัพย์สินและทรัพยากรซึ่งใช้ไปนั้น ได้แก่ มูลค่าสูงสุด
               ของสินค้าหรือบริการที่จะเกิดขึ้นหากนำไปใช้เพื่อทางเลือกประการอื่น หรือต้นทุนค่าเสียโอกาส

               (opportunity cost) ซึ่งการกำหนดต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้นมักอ้างอิงจากราคาตามท้องตลาดของ
               สินค้าหรือบริการนั้นเป็นสำคัญ หากไม่ปรากฏว่ามีราคาท้องตลาด หรือการนำราคาท้องตลาด
               มาใช้จะไม่เหมาะสม ก็อาจนำเอาเทคนิคการประเมินราคาสำหรับสินค้าหรือบริการที่ไม่มีราคา

               ท้องตลาดมาใช้ (non market valuation techniques)

                              ต้นทุนจม (sunk cost) คือ ค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นแล้วและไม่ควร

               นำมาคิดคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินมูลค่าทางสังคม ส่วนสำคัญที่ควรนำมาพิจารณา
               คือต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะเป็นผลจากมาตรการที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการตัดสินใจเท่านั้น
               ทั้งนี้ ต้นทุนในส่วนของทรัพยากรที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่องแม้จะได้มีการใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าว

               ไปแล้วนั้น (เช่นทรัพย์สินหรืออาคาร) ถือเป็นต้นทุนที่ต้องนำมารวมในฐานะต้นทุนค่าเสียโอกาส
               ประเภทหนึ่ง


                    207   ibid, paragraphs 5.14 and 5.15.
                    208   ibid, paragraphs 5.16-5.27.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     128
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145