Page 143 - kpiebook65010
P. 143
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
6) ต้นทุนและผลประโยชน์ที่ไม่อาจคำนวณค่าเป็นเงิน หรือไม่สามารถ
วัดจำนวนได้ 212
โดยหลักแล้ว การประเมินต้นทุนหรือผลประโยชน์นั้นต้องพยายามกำหนด
เป็นจำนวนเงินให้ได้เสียก่อน แต่สำหรับต้นทุนหรือผลประโยชน์ในบางรายการนั้น อาจไม่เหมาะสม
หรือไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้วัดจำนวนหรือคำนวณค่าของต้นทุนหรือผลประโยชน์ดังกล่าว
เป็นเงินได้ เมื่อมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้น ผู้จัดทำรายงานจะต้องจัดทำคำอธิบายให้ปรากฏไว้เป็นส่วนหนึ่ง
ของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้วย และหากสามารถทำได้ ให้แสดงถึงการประเมินค่ามูลค่า
ดังกล่าวด้วยวิธีการอื่นเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงระดับความมีอยู่ของมูลค่าเหล่านั้น
ในการแสดงมูลค่าของต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้
นั้น อาจใช้วิธีการอธิบายถึงมูลค่าเหล่านี้ควบคู่ไปกับมูลค่าอื่นที่กำหนดไว้เป็นจำนวนเงินได้ เช่น
ในกฎระเบียบเรื่องหนึ่งที่รัฐประสงค์จะจัดทำขึ้น มูลค่าผลประโยชน์บางประการอันเกิดจาก
กฎระเบียบเรื่องนั้นอาจมีลักษณะที่ยากจะกำหนดมูลค่าให้ชัดเจนได้ แต่หากพอที่จะกำหนดต้นทุน
ที่ต้องใช้ และต้นทุนเพิ่มเติมในอนาคต ในรูปแบบของตัวเงินที่ต้องใช้สำหรับการจัดทำและ
การบังคับใช้กฎระเบียบนั้นออกมาได้ ก็อาจนำเอาจำนวนเงินดังกล่าวมาเป็นตัวชี้วัดที่เปรียบเทียบ
ว่า ประโยชน์ทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินนั้น มีความคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ต้องใช้ เป็นต้น
สำหรับมาตรการบางอย่าง อาจมีปัจจัยประกอบการตัดสินใจเป็นมูลค่าที่ไม่สามารถกำหนดเป็น
ตัวเงินหลายประการ (complex unmonetizable values) ในกรณีเช่นนี้ต้องมีการชั่งน้ำหนัก
เพื่อพิจารณาส่วนต่างระหว่างทางได้และทางเสียในมูลค่าเหล่านี้ ซึ่งคู่มือฉบับนี้แนะนำให้ใช้วิธีการ
ที่เรียกว่า Multi-Criteria Decision Analysis (MCDA) ที่ใช้การให้น้ำหนักแบบ swing weighting
มาเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจต่อไป 213
7) การลดค่าโดย Social Time Preference 214
การลดค่า (Discounting) เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและ
ผลประโยชน์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันบนปัจจัยพื้นฐานที่คงที่ เทคนิคการลดค่านี้ควรนำเอามาใช้
เพื่อประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทุกประเภท สำหรับการนำมาใช้กับ
การประเมินมูลค่าทางสังคมนั้นใช้หลักที่เรียกว่าค่า Time Preference บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า
ผู้คนมักปรารถนาจะได้รับสินค้าและบริการในทันทีทันใดมากกว่าจะรอรับในภายหลัง
212 ibid, paragraphs 5.31, 6.58 and 6.59.
213 ibid, paragraphs A 1.62 – A 1.67.
214 ibid, paragraphs 5.32-5.39.
สถาบันพระปกเกล้า
131