Page 204 - kpiebook65010
P. 204
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1) ผลกระทบของการใช้ทางเลือกนั้นมีอยู่อย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับ
เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งการตอบคำถามนี้อาจจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ผลกระทบของแต่ละ
ทางเลือกอย่างเต็มรูปแบบ
2) ผลกระทบโดยสุทธิ (หรือผลประโยชน์และตุ้นทุนสุทธิ) จากการที่เลือก
ดำเนินการตามทางเลือกแต่ละทาง
3) ได้มีการพิจารณาการกระจายของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกนั้น
เพียงใด เนื่องจากการวิเคราะห์ทางเลือกที่ครบถ้วนนั้น จำเป็นต้องพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์
และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าเป็นผู้ใดบ้าง และมีความเสียหายหรือได้รับประโยชน์เป็นจำนวน
เท่าใด
ในกรณีที่ปัญหาพื้นฐานมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงบางประการ ต้องมี
การระบุปัจจัยเสี่ยงนั้นเอาไว้ให้ชัดเจนด้วย และการวิเคราะห์ทางเลือกจะต้องมีการอธิบายถึงกรณี
307
ที่ความเสี่ยงเหล่านั้น :
1) ถูกยอมรับโดยสมัครใจจากบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงนั้น เช่น
มีการลงนามยอมรับที่จะไม่เรียกร้องให้รับผิดใด ๆ เป็นต้น
2) มีการโอนความเสี่ยงดังกล่าวไปยังบุคคลอื่น เช่น การทำข้อตกลงให้บุคคล
ที่สามเป็นผู้รับผิดในผลของการกระทำที่เกิดขึ้น เป็นต้น
3) การบรรเทาผล (โดยการลดอัตราการเกิดขึ้นหรือลดผลกระทบของ
ความเสี่ยงนั้น) เช่น การจัดให้มีเครื่องมือด้านความปลอดภัยเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
เป็นต้น
4) การหลีกเลี่ยง เช่น การห้ามไม่ให้มีกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยง
เช่นว่านั้น เป็นต้น
4.4.3.2 การกำหนดขอบเขตของผลกระทบ 308
ขั้นตอนในส่วนนี้จะเป็นการระบุขอบเขตความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และการจัดทำ
คำอธิบายเชิงคุณภาพ (qualitative description)
307 ibid.
308 ibid 12-14.
สถาบันพระปกเกล้า
192