Page 205 - kpiebook65010
P. 205

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                            ผลกระทบย่อมมีได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยอาจปรากฏในรูปแบบของผล
               กระทบทางเศรษฐกิจ ในทางงบประมาณ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ผลกระทบต่อสังคม

               สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม บรรดาผลกระทบเหล่านี้อาจมีลักษณะเป็นผลกระทบโดยตรงหรือ
               โดยอ้อม อาจเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นคราวเดียว เกิดขึ้นหลายครั้ง หรือเกิดแล้วส่งผลต่อเนื่องไป

               ซึ่งการวิเคราะห์ผลกระทบจำเป็นจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าทางเลือกแต่ละทางนั้นจะทำให้
               ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นเป็นไปในทางที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรเมื่อเทียบกับสถานะ
               ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


                            สำหรับผลกระทบประการต่าง ๆ ควรถูกอธิบายแยกจากกัน โดยจัดประเภท
               ให้ชัดเจน ดังนี้


                            1) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ
               สวัสดิภาพโดยรวมทั้งหมด และสะท้อนให้เห็นถึงการผลิตและการบริโภคโดยรวมของสังคม
               ผลกระทบในแง่นี้เป็นการวัดค่าประสิทธิภาพโดยรวมด้วยการพิจารณาว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค

               ธุรกิจ หรือชุมชนนั้นอาจมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
               ที่กำหนดไว้ หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์สุทธิในด้านอื่น ๆ แก่สังคม หรือในทางตรงกันข้าม อาจถูก

               บิดเบือนไปให้เกิดผลในทางลบ หรือทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งความเสียหายต่อสวัสดิภาพ
               นั้นอาจเกิดขึ้นจากการออกกฎที่ขัดขวางการแข่งขัน ปิดกั้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ บิดเบือน
               กลไกราคาหรือการประเมินมูลค่า หรือจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคลหรือองค์กร

               (เช่น การเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คนไปจากกกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลผลิตมากกว่า)

                            2) ต้นทุนทางงบประมาณที่หน่วยงานต้องแบกรับ (หรือหมายถึงต้นทุน

               ของผู้เสียภาษี) ในการที่จะต้องบริหารจัดการกฎระเบียบหรือกฎหมายนั้น ในข้อนี้รวมถึงต้นทุน
               ในการบังคับใช้มาตรการ การกำหนดมาตรฐาน การติดตามตรวจสอบและบังคับให้ปฏิบัติตาม

               กฎหมาย การระงับข้อพิพาทและการจัดการในส่วนของระบบการอุทธรณ์

                            3) ต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ คือต้นทุนที่เกิดกับผู้อยู่ภายใต้บังคับ
               ของกฎระเบียบโดยตรง ในการที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบนั้น ต้นทุนในส่วนนี้รวมถึง

               การจัดเก็บและทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูล การจัดซื้ออุปกรณ์และการปรับปรุงระบบเพื่อใช้สำหรับ
               การประมวลผลและการรายงาน ซึ่งต้นทุนในส่วนนี้ถือเป็นผลกระทบที่มักปรากฏให้เห็นอย่าง

               ชัดเจน แต่เนื่องจากเป็นผลกระทบต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นรายกรณี จึงถือเป็นต้นทุนที่มี
               ความสำคัญน้อยหากเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวม ทั้งนี้



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     193
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210