Page 206 - kpiebook65010
P. 206

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               การประเมินต้นทุนในหัวข้อนี้มักใช้การตั้งสมมติฐานว่าทางเลือกในการออกกฎระเบียบนั้นจะถูก
               นำไปบังคับใช้จริงอย่างไร และบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะมีแนวทางในการตัดสินใจปฏิบัติตาม

               กฎระเบียบที่ออกมาเป็นประการใด

                            หน่วยงานที่จัดทำ RIA ควรต้องพิจารณาถึงวิธีการที่สามารถลดหรือจำกัด

               ต้นทุนในทุกรายการให้มีจำนวนน้อยที่สุด โดยเฉพาะต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบ
               สำหรับบางกรณีที่อาจมีต่างระหว่างต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบในภาคเอกชน กับต้นทุน
               ในการบริหารจัดการของภาครัฐเกิดขึ้น ข้อมูลส่วนนี้ก็ต้องถูกนำมาแสดงให้เห็นไว้ด้วย เช่น

               การจัดวางระบบที่มีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถทำให้เอกชนปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างสะดวก
               เป็นผลให้ต้นทุนของภาคเอกชนลดลง แต่ต้นทุนส่วนนี้ย่อมไปเพิ่มขึ้นในภาครัฐซึ่งต้องลงทุนกับ

               ระบบในการบริหารจัดการกฎระเบียบนั้น เป็นต้น

                      4.4.3.3  การวิเคราะห์ลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นผลกระทบ 309


                            หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
               จากทางเลือกในแต่ละทางด้วย กล่าวคือ เหตุการณ์ใดบ้างที่จะเกิดขึ้นจากทางเลือกหนึ่ง และใคร
               ที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว การวิเคราะห์ควรเริ่มจาก “ใครเป็น

               ผู้ได้รับผลกระทบ” ก่อนจะไปสู่ปัญหาว่า “ผลกระทบนั้นเป็นอย่างไร” แต่ทั้งในส่วนของผลกระทบ
               และเหตุการที่เป็นผลกระทบนั้นก็ควรที่จะได้ถูกระบุถึงก่อนที่จะไปสู่ขั้นของการประเมินว่า

               ผลกระทบของแต่ละบุคคลมีมูลค่าเท่าใด เพื่อหาค่าสุทธิของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อไป

                            ประเภทของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งจะนำมาเป็นฐานของ
               การวิเคราะห์นั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับทางเลือกที่นำมาพิจารณาด้วย โดยอาจเป็น

               การพิจารณารายบุคคล ครอบครัวหรือครัวเรือน ผู้บริโภค ลูกจ้าง หน่วยธุรกิจ ประชากรในภูมิภาค
               หนึ่ง กลุ่มของประชากรที่จำแนกตามลักษณะเฉพาะต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ เพศ อายุ เป็นต้น หรือ

               อาจพิจารณาจากการใช้ทรัพยากร เช่น กลุ่มชาวประมง กลุ่มผู้ใช้ถนน เป็นต้น ไปจนถึงองค์กร
               ไม่แสวงหากำไร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐบาลกลางเอง ทั้งนี้ ในแต่ละ
               กลุ่มนั้นอาจมีการจำแนกลักษณะย่อยภายในกลุ่มนั้นเพื่อดูผลกระทบที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นไป

               อีกได้







                    309   ibid 14-15.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     194
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211