Page 227 - kpiebook65010
P. 227
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ความเป็นไปได้มากที่ไทยจะพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้านอันเป็นส่วนย่อย
มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับการพิจารณาแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในภาพรวม
7. มีการกำหนดให้ต้องวิเคราะห์ในเชิงปริมาณหรือไม่ และเน้นการวิเคราะห์
เชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
ในส่วนของข้อพิจารณาเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงปริมาณนั้น ทุกประเทศ
ที่ศึกษามีการกำหนดแนวทางเอาไว้ แต่มีการกำหนดรายละเอียดที่แตกต่างกัน โดยแนวทางของ
343
EU และสหราชอาณาจักรกำหนดรายละเอียดการวิเคราะห์และคำนวณอย่างละเอียด โดยมัก
ระบุในทำนองเดียวกันว่าควร มีการกำหนดให้เน้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยมีการตีค่าหรือ
ประเมินมูลค่าผลกระทบ เว้นแต่ผลกระทบที่ไม่อาจคำนวณได้ นอกจากนี้ แนวทางของนิวซีแลนด์
ยังกำหนดแนวทางที่น่าสนใจโดยกำหนดว่า จะต้องพยายามแสดงให้เห็นเป็นจำนวนเงิน
(monetized) ให้ชัดเจนเท่าที่จะสามารถทำได้ หากไม่สามารถทำได้ ให้ระบุถึงระดับของ
344
ผลกระทบดังกล่าว (มาก ปานกลาง น้อย) ส่วนไทยนั้น ใน RIA Handbook ได้กำหนดแนวทาง
เรื่องดังกล่าวไว้เช่นกัน แต่ไม่มีรายละเอียดมากนัก โดยในส่วนที่กำหนดแนวทางไว้มักเป็นเรื่อง
การระบุภาระทางงบประมาณที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตรากฎหมายในช่วง 3 ปี แต่ก็ไม่ได้ระบุ
รายละเอียดว่าใช้วิธีการคำนวณอย่างไร 345
8. มีการกำหนดเทคนิควิเคราะห์หรือไม่ หากมี เทคนิคใดเป็นเทคนิคหลักที่พึงใช้
เทคนิควิธีการวิเคราะห์ในที่นี้หมายถึง เทคนิคและวิธีการในการตีมูลค่าผลกระทบ
ที่อาจคำนวณได้และประเมินค่าผลกระทบที่ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเลขได้ ซึ่งจากการพิจารณา
จากบทบัญญัติในกฎหมายและแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบของไทยพบว่า แม้จะมีการกำหนด
ให้ใช้ความพยายามในการตีมูลค่าผลกระทบในเชิงตัวเลขแต่ไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดให้ใช้เทคนิค
ใดในการวิเคราะห์หรือประเมินผลกระทบ รายละเอียดในส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่ขาดและควรพัฒนา
ให้มีความสมบูรณ์ต่อไป
จากการศึกษาประสบการณ์การวิเคราะห์ผลกระทบในต่างประเทศพบว่าทุกประเทศ
ที่ศึกษารวมทั้ง EU ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเทคนิควิธีการวิเคราะห์โดยอาจกำหนด
343 ดูรายละเอียดในหัวข้อ 3.4.1 ของบทที่ 3 และหัวข้อ 4.1.3 ของบทที่ 4
344 ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.4.3 ของบทที่ 4
345 ดูรายละเอียดในหัวข้อ 2.3.2 ของบทที่ 2
สถาบันพระปกเกล้า
215