Page 230 - kpiebook65010
P. 230

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               แต่ละประเทศที่มีการนำมาศึกษารวมทั้ง EU มีการกำหนดแนวทางและเทคนิคการวิเคราะห์
               ผลกระทบซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวทางและเทคนิควิธีการวิเคราะห์ผลกระทบของไทย

               ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างข้อพิจารณาอื่น ๆ ที่สะท้อนให้เห็นประเด็นที่เป็นของเอกลักษณ์ โดยหาก
               เริ่มจากการพิจารณาแนวทางของไทยนั้น มีความโดดเด่นในแง่การมีกฎหมายและแนวทางที่ไม่ใช่

               กฎหมายวางหลักการเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามแนวทางของไทยเน้น
               การใช้ RIA กับการวิเคราะห์ร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเป็นสำคัญ

                        ส่วนแนวทางดำเนินการของ EU นั้น มีการกำหนดแนวทางและเทคนิคการวิเคราะห์

               อย่างละเอียดและสามารถนำมาเป็นแนวทางพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรา
               กฎหมายของไทยด้วย นอกจากนี้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ยังมีข้อพิจารณาที่น่าสนใจ เช่น

               1. แนะนำให้คำนึงถึงพฤติกรรมของผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ว่าจะมีความสมัครใจที่จะ
               ปฏิบัติตามมากน้อยเพียงใด และ 2. แนะนำให้ยอมรับและแสดงให้ชัดหากมีปัจจัยความไม่แน่นอน
               ใดที่อาจมีผลต่อผลของการวิเคราะห์  เป็นต้น
                                            354

                        แนวทางการดำเนินการในสหราชอาณาจักรมีความละเอียดเช่นเดียวกับ EU แต่เน้น
               การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของด้านเศรษฐกิจ โดยจุดที่เป็นเอกลักษณ์

               อาจได้แก่การแบ่งการวิเคราะห์ผลกระทบออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบ
               แบบคร่าว ๆ โดยใช้เทคนิค longlist analysis และการวิเคราะห์แบบละเอียดเฉพาะทางเลือกที่ถูก
               กำหนดไว้อีกครั้งโดยอาศัย shortlist appraisal ซึ่งเน้นการคำนวณ โดยมีแนวทางการคำนวณ

               หลายประเด็น เช่น เงินเฟ้อ การประมาณการต้นทุนและผลประโยชน์ 355

                        ส่วนการดำเนินการของไอร์แลนด์นั้น แม้ว่าเอกสารที่เป็นคู่มือกำหนดแนวทาง

               การวิเคราะห์จะใช้มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2009 และไม่ได้กำหนดรายละเอียดเท่ากับแนวทางของ
               EU และสหราชอาณาจักรแต่ก็ใช้แนวทางเดียวกับ EU โดยมีส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของ

               ไอร์แลนด์ได้แก่การกำหนดการวิเคราะห์ผลกระทบต่อความยากไร้ (poverty impact
               assessment)  ซึ่งไม่ปรากฏในประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกับ เนเธอร์แลนด์ที่เพิ่งผ่านช่วงปฏิรูป
                           356
               ระบบการทำ RIA มาไม่นานมากนัก แต่จุดที่น่าสนใจได้แก่การกำหนดให้ต้องพิจารณาประเด็นทาง

               นิตินโยบายที่สำคัญว่าร่างกฎหมายจะมีผลต่อเงื่อนไขเชิงคุณภาพที่ต้องพิจารณา (mandatory



                    354   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 3.6 ของบทที่ 3
                    355   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.1.3 ของบทที่ 4
                    356   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.2.3 ของบทที่ 4


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     218
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235