Page 229 - kpiebook65010
P. 229

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               ที่ไม่ได้กำหนดเรื่องนี้อย่างชัดเจนนัก โดยแนวทางของไทยกำหนดให้คำนวณต้นทุนและค่าใช้จ่าย
                                               352
               ในการปฏิบัติตามกฎหมาย 3 ปีแรก  ในขณะที่นิวซีแลนด์มีการกำหนดไว้ทั้งต้นทุนทาง
               งบประมาณที่หน่วยงานต้องแบกรับและต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ  ซึ่งจะเห็นว่า
                                                                                 353
               ต้นทุนในส่วนของไทยนั้นเน้นให้คำนวณภาระทางงบประมาณต่อภาครัฐในขณะที่นิวซีแลนด์

               ให้มีการพิจารณาต้นทุนที่จะเกิดขึ้นต่อภาคเอกชนด้วย ซึ่งในอนาคตหากหน่วยงานของรัฐไทย
               มีความพร้อมที่จะคำนวณค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามกฎหมายก็อาจกำหนดให้เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไข
               ที่มีความชัดเจนมากขึ้นได้เนื่องจากในปัจจุบันกำหนดใน RIA Handbook แต่เพียงให้มีการนำเสนอ

               ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชนหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจ
               ในภาพรวมเท่านั้น


                      11. มีการกำหนดสภาพบังคับหากไม่วิเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนดหรือไม่

                         ข้อพิจารณาประการนี้เกิดขึ้นจากการที่กฎหมายไทยกำหนดให้ต้องมีการทำ RIA
               และเสนอรายงาน RIA เพื่อเสนอไปพร้อมกับร่างกฎหมายสู่การพิจารณาของรัฐบาลและ

               สภานิติบัญญัติ โดยไม่ได้กำหนดรายละเอียดเอาไว้ว่าหากไม่มีการดำเนินการตามขั้นตอน
               ที่กฎหมายหรือแนวทางกำหนดไว้ ซึ่งอาจได้แก่ กรณีที่หนึ่ง ไม่มีการทำ RIA ประกอบร่างกฎหมาย

               เลย กรณีที่สอง มีการทำ RIA แต่ดำเนินการไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เช่น
               ไม่จัดรับฟังความเห็นอย่างครบถ้วน หรือไม่วิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้านตามเงื่อนไข
               ที่กฎหมายกำหนด หรือกรณีที่สาม มีการทำ RIA ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่เป็นไป

               ตามแนวทางที่กำหนดในเอกสารที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งได้แก่ RIA Guidelines และ
               RIA Handbook ทั้งสามกรณีนี้มีข้อที่น่าพิจารณาว่าการพิจารณาร่างกฎหมายที่ไม่มี RIA หรือ

               กระบวนการทำไม่ชอบ จะมีสภาพบังคับใดหรือไม่ รวมทั้งบุคคลผู้ผู้มีส่วนได้เสียจะสามารถโต้แย้ง
               ความไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าจากการศึกษาแนวทาง
               และกฎหมายในประเทศไทยและต่างประเทศจะพบว่าไม่มีการกำหนดรายละเอียดเรื่องนี้เอาไว้เลย

               ซึ่งหากมีการกำหนดสภาพบังคับหรือผลของการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติเอาไว้อย่างชัดเจนย่อมน่าจะมี
               ส่วนช่วยให้เกิดการปฏิบัติตามเงื่อนไขทางกฎหมายหรือแนวทางที่กำหนดได้มากขึ้น


                      12. ข้อสังเกตอื่น ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์

                         นอกเหนือจากข้อพิจารณาที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ในภาพรวมอาจสรุปได้ว่า


                    352   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 2.3 ของบทที่ 2

                    353   ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.4.3 ของบทที่ 4

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     217
   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234