Page 277 - kpiebook65010
P. 277
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ประเทศ แนวทางการวิเคราะห์ วิธีการวิเคราะห์
๏ หากมีผลกระทบทางอ้อม (indirect impact) เกิดขึ้นเช่น ต้นทุน
สะสม (accumulated costs) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องแบกรับ หรือ
ความกดดันที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือ
นโยบายนั้น ก็ควรมีการประเมินผลกระทบประเภทนี้ด้วย
๏ ควรระบุทั้งผลกระทบทั้งด้านดีและร้าย เช่น ต้นทุนหรือผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
๏ ควรพิจารณาด้วยว่าการใช้ข้อเสนอเชิงนโยบายอาจเป็นผลดีต่อ
ฝ่ายหนึ่งแต่อาจเกิดผลร้ายต่ออีกฝ่ายหนึ่งก็ได้
๏ ควรระบุด้วยว่าฝ่ายใดที่จะได้หรือเสียผลประโยชน์
๏ ควรดำเนินการแจกแจงหรือสรุปบรรดาผลกระทบทางลบและ
ทางบวกโดยแสดงระดับ ความเป็นไปได้และบุคคลที่อาจได้รับ
ผลกระทบให้ชัดเจน
๏ การวิเคราะห์เชิงปริมาณนั้นควรมีการนำเสนอสมมติฐานที่สำคัญ
(underlying assumption) ของการวิเคราะห์ โดยข้อสรุปของ
การวิเคราะห์ควรตั้งอยู่บนฐานในทางทฤษฎีและมีหลักฐานรองรับ
(evidence-based) นอกจากนี้ควรมีการระบุให้เห็นถึงข้อจำกัด
ของข้อสรุปและการวิเคราะห์ด้วย
๏ ในกรณีที่ไม่สามารถวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงปริมาณได้ ควรมี
การวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงคุณภาพโดยในรายงาน RIA ควรแสดง
เหตุผลด้วยว่าเหตุใดจึงไม่สามารถวิเคราะห์ในเชิงปริมาณได้
โดยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพดังกล่าวนั้นควรกระทำอย่างรอบคอบ
และเคร่งครัดโดยให้ความสำคัญกับการอธิบายว่าทางเลือกที่ทำ
การวิเคราะห์จะส่งผลในทางปฏิบัติต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียอย่างไร
๏ การเปรียบเทียบทางเลือก (คำถามข้อ 6 ของ EU)
๏ การเปรียบเทียบทางเลือกเป็นกระบวนการเพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่
ผู้จัดทำนโยบายหรือกฎหมายให้สามารถเห็นว่าแต่ละทางเลือกที่มีนั้น
มีข้อดีข้อเสียอย่างไรเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจโดยอาจนำเสนอ
ทางเลือกที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมที่สุด (preferred option)
๏ การเปรียบเทียบทางเลือกว่าทางเลือกใดที่มีความเหมาะสมมากที่สุด
อาจพิจารณาจากปัจจัยเรื่องความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและ
ความสอดคล้องของทางเลือกกับกฎหมายหลัก โดยพิจารณา
หลักความได้สัดส่วนประกอบการตัดสินใจ
๏ ตัวอย่างของส่วนที่ควรนำเสนอให้ชัดเจน ก็เช่น การนำเสนอว่า
ทางเลือกใดที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยกว่ากันอย่างไร
(เปรียบเทียบประสิทธิผล (effectiveness)) ผลประโยชน์เมื่อ
เทียบกับต้นทุน (เปรียบเทียบประสิทธิภาพ (efficiency))
ความสอดคล้องและความต่อเนื่องระหว่างทางเลือกต่าง ๆ กับ
กฎหมายหรือนโยบายหลักของประเทศ รวมทั้งความสอดคล้องกับ
หลักความได้สัดส่วนในการทำ RIA
๏ ควรต้องคำนึงด้วยว่าวิธีการเปรียบเทียบนั้นมีจุดอ่อนหรือข้อจำกัด
หรือไม่อย่างไร ทางเลือกที่เลือกสอดคล้องหรือแตกต่างจาก
สมมติฐานหรือไม่
๏ การนำเสนอการเปรียบเทียบทางเลือกในรายงาน RIA นั้น
ควรนำเสนอในลักษณะที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น อาจนำเสนอ
ในรูปแบบตารางที่มีการนำเสนออย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นต้น
สถาบันพระปกเกล้า
265