Page 48 - kpiebook65010
P. 48
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งตรวจสอบว่าการรับฟังความคิดเห็น
ครบถ้วนและครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องที่ต้องรับฟังหรือไม่ 42
มีข้อสังเกตว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือสำนักงานมีบทบาทอย่างสำคัญในการทำ RIA
เช่นกัน เนื่องจากกฎหมายให้อำนาจองค์กรดังกล่าวตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย
โดยในกรณีที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำร่างกฎหมายฉบับใด ให้สำนักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกาส่งเรื่องพร้อมความเห็นหรือข้อเสนอแนะไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอ
เรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้ทบทวนหรือพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป นอกจากนี้ในกรณีที่
เห็นสมควรจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องหรือการวิเคราะห์ผลกระทบเพิ่มเติม
สำนักงานจะดำเนินการดังกล่าวเองหรือจะแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ
ก็ได้ 43
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่อง
หรือหน่วยงานอื่นในการวิเคราะห์ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
สำหรับกรณีที่ผลกระทบนั้นอาจคำนวณเป็นเงินได้และเป็นร่างกฎหมายบางประเภท เช่น
ร่างกฎหมายที่กำหนดให้บุคคลกระทำการใดเมื่อได้รับความยินยอมก่อนกระทำการนั้น เช่น
การอนุญาต การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทานบัตร และ
44
การให้อาชญาบัตร เป็นต้น โดยเหตุผลสำคัญที่มีการกำหนดบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกาดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
นอกจากบทบาทในการตรวจสอบรายงาน RIA แล้วสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ยังมีอำนาจปรับปรุงหรือแก้ไขรายงาน RIA ให้สอดคล้องกับร่างกฎหมายที่ผ่านการตรวจพิจารณา
และเสนอไปพร้อมกับร่างกฎหมายและเอกสารอื่น ๆ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยอาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการหรือร่วมดำเนินการก็ได้ 45
42 RIA Guidelines, ข้อ 7.
43 มาตรา 26.
44 RIA Guidelines, ข้อ 8.
45 RIA Guidelines, ข้อ 9.
สถาบันพระปกเกล้า
36