Page 49 - kpiebook65010
P. 49

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย






                    หน่วยงานรัฐผู้ทำ RIA     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี   สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


                 ตรวจสอบความจำเป็นในการตรา   ตรวจสอบความครบถ้วนของ      ตรวจสอบความครบถ้วนในการ
                 กฎหมาย                      การดำเนินการ               ดำเนินการของหน่วยงานรัฐ
                 เริ่มต้นการวิเคราะห์        หากครบถ้วน เสนอ ครม.       ตรวจสอบความจำเป็นในการตรา
                 รับฟังความคิดเห็น           เพื่อพิจารณา               ตรวจสอบรายงาน RIA
                 ทำรายงาน RIA                                           แก้ไขปรับปรุง
                 เปิดเผยข้อมูล

                             ภาพ 3 สรุปหลักเกณฑ์และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบ  46


               2.3 แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบในรายงาน RIA


                    หลังจากที่ได้พิจารณาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวมในหัวข้อ
               ก่อนไปแล้ว ในหัวข้อนี้จะนำเสนอรายละเอียดแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบในรายงาน RIA

               โดยปัจจุบันมีการกำหนดรายละเอียดเรื่องดังกล่าวในเอกสารที่มีการเผยแพร่ 2 ส่วน โดยส่วนแรก
               ได้แก่ รายละเอียดใน RIA Guidelines ซึ่งมีการจัดทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 7 และ
               มาตรา 17 ของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ

               กฎหมาย พ.ศ. 2562 และรายละเอียดขยายแนวทางส่วนแรกซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
               ได้จัดทำขึ้นในรูปของคู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

               โดยรายละเอียดทั้ง 2 ส่วนมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

               2.3.1  RIA Guidelines

                      หากพิจารณาบทบัญญัติในหมวด 2 ของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ

               ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 2.2
               จะเห็นว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบเอาไว้โดยเพียงแต่กำหนดให้มี

               การวิเคราะห์ผลกระทบด้านการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ หรือผลกระทบในทางเศรษฐกิจ
               สังคม สิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบอื่นที่สำคัญโดยเปิดเผยผลกระทบนั้นให้ประชาชนทราบเพื่อ
                            47
               รับฟังความเห็น  โดยหลังจากนั้นให้มีการนำผลกระทบที่มีการรับฟังความเห็นดังกล่าวไปจัดทำ

                     46   ปรับปรุงจากแผนภาพกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย จัดทำโดยสำนักงาน
               คณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าถึงได้จาก <www.krisdika.go.th/data/article77/filenew/02Info-1.pdf> เข้าถึงเมื่อวันที่
               9 กันยายน 2564.

                     47   มาตรา 14 (3).

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     37
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54