Page 66 - kpiebook65010
P. 66

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย




               3.1.2  ความหมายและลักษณะของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม


                      เนื่องด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายของหลายประเทศ

               ไม่ได้ถูกแยกออกมาจากการประเมินผลกระทบด้านอื่นอย่างชัดเจน การทำความเข้าใจความหมาย
               ของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายในบริบทนี้จึงควรเริ่มจากการย้อนกลับไป
               พิจารณาความหมายของ RIA เป็นอันดับแรก โดยในระดับสากลนั้นมีการเรียกเทคนิคการวิเคราะห์

               ผลกระทบของกฎหมายหรือนโยบายในชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบจาก
               กฎหมายและนโยบาย (regulatory impact assessment) การวิเคราะห์ผลกระทบ (impact

               assessment) และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านความยั่งยืน (sustainability impact assessment)
                     64
               เป็นต้น  ซึ่งอาจมีข้อพิจารณาว่าการเรียกชื่อที่แตกต่างกันนี้มีนัยความแตกต่างใดและทำให้
               ความหมายคลาดเคลื่อนจากกันหรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นนี้ การศึกษา

               ประสบการณ์จากต่างประเทศจะพิจารณาบรรดาแนวคิดของกลไกทั้ง 3 ชื่อนี้ไปในความหมาย
               เดียวกันว่าหมายถึงการทำ RIA ไม่ว่าจะมีการเรียกชื่อใดตราบเท่าที่เป็นการประเมินผลกระทบ

               ที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้นโยบายหรือการตรากฎหมาย

                      โดยนัยข้างต้น RIA ที่กำลังจะกล่าวถึงในบทนี้จึงหมายความในภาพรวมได้ว่า หมายถึง
               กระบวนการระบุ (identify) และประเมิน (assess) ผลกระทบของจากข้อเสนอทางนโยบาย

                               65
                                                                                              66
               (policy proposal)  โดยเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าจะมีการกำหนดมาตรการควบคุมหรือไม่
               โดย RIA เป็นการวิเคราะห์ต้นทุน (cost) และผลประโยชน์ (benefit) อย่างเป็นระบบ โดยมีขึ้น
               เพื่อช่วยในกระบวนการตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกว่าจะใช้กลไกการควบคุม (การใช้กฎระเบียบ)

               หรือไม่ และเพื่อสร้างหลักประกันว่ามาตรการควบคุมทางกฎหมายที่กำหนดขึ้นจะก่อให้เกิด
               ประโยชน์สูงสุด  นอกจากนี้ในบางแหล่งได้อธิบายว่า RIA ได้แก่เครื่องมือซึ่งใช้ปรับปรุงคุณภาพ
                            67
               และความต่อเนื่องของกลไกการพัฒนานโยบาย มีการกำหนดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งด้านบวก


                     64   Julia Hertin and others, ‘Rationalising the Policy Mess? Ex Ante Policy Assessment and the
               Utilisation of Knowledge in the Policy Process’ (2009) 41: 5 Environment and Planning A 1185, 1185-
               1186.
                     65   OECD, OECD Reviews of Regulatory Reform Regulatory Impact Analysis: A Tool for Policy
               Coherence (OECD 2009) 24.

                     66   OECD, “Recommendation of the Council on Regulatory Policy and Governance” (OECD
               2012) 25.
                     67   Commission of the European Communities, ‘Communication from the Commission on

               Impact Assessment’ (Commission of the European Communities, COM (2002) 276 final, 2002) 3.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     54
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71